ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นยางกราด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus intricatus
ชื่ออื่นๆ : สะแบง, กราด, เหียงกราด, ตะแบง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกลำต้นแตกเป็นร่องลึกยาวหรือเป็นสะเก็ดตามขวาง สีน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนมีขนกระจาย
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวใบด้านบนมีขนหยาบและสาก ด้านล่างมีขนรูปดาว ใบอ่อนและยอดอ่อนมีหูใบสีแดงหุ้ม
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาวแซมสีชมพู กลิ่นหอม
ผล : แห้งกลม แข็ง ถูกปิดด้วยครีบบางๆสีแดงเป็นจีบ หักพับไปมาเป็นชั้นตามความยาวผล มีปีกผล 5 ปีก สีแดงสด ปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก
เมล็ด : แข็ง
การขยายพันธุ์ของต้นยางกราด
โดยการเพาะเมล็ด
การดูแลต้นยางกราด
ปลูกได้ในดินที่มีการระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด ทนแล้ง
ประโยชน์ของต้นยางกราด
- ลำต้น นำมาทำเครื่องเรือน เครื่องมือทางการเกษตร สร้างบ้านหรือสร้างคอกสัตว์
- ยางใช้ทำยางชัน ใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาอหิวาตกโรค
- ดอกอ่อน รับประทานสดจิ้มกับน้ำพริก หรือลาบ มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
- น้ำมันจากต้น ใช้ทำน้ำมันใส่แผล
- ผล ทำไม้ประดับแห้งสีแดงอยู่ได้นานถึง 1 ปี
- ใบแก่ เย็บเป็นตับมุงหลังคาหรือเถียงนา กั้นฝา ห่ออาหาร