ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมะพูด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Yelloe mangoesteen
ชื่อ : ปะหูด, มะหูด, จำพูด, ตะพูด, สำม่าง, สัมปอง, พะวาใบใหญ่
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง ทรงพุ่ม หรือ เรือนยอดใหญ่ลักษณะกลมหรือรูปไข่หนาทึบ ลำต้นมีร่องรอยบาดแผล ลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มเรียบ และแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามความยาวลำต้น มียางสีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไหลซึมออกมา
ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม แผ่นใบหนา ลักษณะของใบยาวรีคล้ายโคนใบตัดตรงและเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจแผ่นใบด้านล่างมีขนละเอียดปกคลุมก้านใบสั้น
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบแผลใบ หรือ ตามกิ่งก้าน ดอกเป็นแบบแยกเพศในต้นเดียวกัน ดอกสีขาวอมเหลือง
ผล : เป็นผลเดี่ยวและพวง ทรงกลมป้อม ผิวค่อนข้างหนาเป็นมัน ผลที่ยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองออกแสด และจะเข้มขึ้นเมื่อผลแก่จัด ผลมีขนาดใหญ่เท่าส้ม หรือ แอปเปิ้ล เนื้อในของผลมีรสหวานอมเปรี้ยว
เมล็ด : รูปร่างรีแบนๆ ขนาดเท่าเล็บมือจำนวน 4-5 เมล็ด ฝังอยู่ภายในเนื้อ สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นมะพูด
เพาะเมล็ดและการปักชำ
การดูแลต้นมะพูด
ปลูกได้ในดินร่วนปนเหนียว ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลาง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมะพูด
- น้ำคั้นจากลูก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน
- ราก แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษผิดสำแดง
ความเชื่อของต้นพูด
เป็นไม้มงคลที่คนโบราณเชื่อว่าเมื่อนำมาปลูกในบ้านแล้วลูกหลานจะช่างพูดเจรจากับผู้คน
ประโยชน์ของต้นมะพูด
- ผลสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือถนอมอาหารโดยทำเป็นแยมและยังมีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้และผลไม้กวน
- ผลดิบ มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานจิ้มกับพริกเกลือหรือนำมาดอกเป็นผลไม้ดองหรือใช้แทนมะนาว ในการทำแกง
- ใบและเปลือก ย้อมสีเส้นไหม โดยจะให้สีเหลือง
- เป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา