ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพลองเหมือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นพลองเหมือด : Memecylon edule Roxb.
ชื่ออื่นๆ ของต้นพลองเหมือด : พลองดำ, เหมียด, ผักไคร้มด, พลองสีน้ำเงิน, เหมือดแอ่, เหมือด
ลักษณะลำต้นของต้นพลองเหมือด : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนแบนหรือเป็นเหลี่ยม กิ่งแก่กลม เปลือกแตกเป็นร่องลึก สีเทาอมน้ำตาล
ลักษณะใบของต้นพลองเหมือด : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่ ปลายทู่หรือแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบเสีเขียวเป็นมัน ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ลักษณะดอกของต้นพลองเหมือด : ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบหรือตามข้อที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสีขาวอมม่วง หรือสีน้ำเงินเข้ม
ลักษณะผลของต้นพลองเหมือด : เป็นผลสดมีเนื้อคล้ายลูกหว้า ทรงกลม ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกสีม่วงเข้มถึงดำ
ลักษณะเมล็ดของต้นพลองเหมือด : กลม
การขยายพันธุ์ของต้นพลองเหมือด
เพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพลองเหมือด
- เปลือก รักษารอยฟกช้ำ
- เปลือกต้นและแก่น บรรเทาอาการปวดฟัน
- ใบ รักษาโรคโกโนเรีย
- ต้นและใบ ขับปัสสาวะ
- รากหรือลำต้น รักษาโรคกระเพาะอาหาร
- น้ำยางจากลำต้น ทาส้นเท้าเพื่อลดรอยแตก
ประโยชน์ของต้นพลองเหมือด
- ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ มีรสหวาน
- ใบอ่อน กินเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก รสฝาดหวาน
- ใบ ใช้เป็นสีย้อม ให้สีเหลือง
- แก่น นำไปย้อมไหมให้สีเหลือง
- กิ่งและลำต้น นำไปเผาที่เป็นน้ำด่างใช้ในการย้อมครามของไหมและฝ้าย ให้สีเหลือง
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ลำต้น ทำด้ามเสียม ทำแอกวัว ทำซี่ฟันคราดนา ทำง่ามหนังสติก
- ใบแก่ คลุกเคล้ารวมกับพริกแล้วนำไปตากแดด ช่วยทำให้พริกมีสีสดและป้องกันไม่ให้แมลงมากัดกิน
- แก่นและใบ นำไปต้มเป็นอาหารสัตว์