ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพยุง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ความเชื่อ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพยุง
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre.
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Siamese Rosewood, Thailand Rosewood, Tracwood, Black Wood, Rose Wood
- ชื่ออื่นๆ : ขะยุง, แดงจีน, ประดู่ตม, ประดู่น้ำ, พะยูงไหม, ประดู่ลาย, ประดู่เสน, กระยง, กระยุง
- ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มรูปไข่หรือแผ่กว้าง โปร่ง เปลือกต้นสีเทาเรียบ แตกไม่เป็นระเบียบ และหลุดร่อนเป็นแผ่น
- ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบรูปไข่หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่งหู โคนใบมนกว้าง ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว คล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างสีเขียวนวล
- ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกตั้งขึ้น ดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
- ผล : เป็นฝัก รูปขอบขนาน แบนบาง เกลี้ยง
- เมล็ด : รูปไต ผิวเมล็ดค่อนข้างมัน
- หมายเหตุ : ในปัจจุบันไม้พะยูงจัดเป็นไม้สงวน หากใครมีไว้ในครอบครองจะถือว่ามีความผิด เนื่องจากในเวลานี้ไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น และกำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ (พยุงมีสถานภาพเป็นไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก)
การขยายพันธุ์ของต้นพยุง
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด หรือนำเหง้ามาปักชำ
การดูแลต้นพยุง
ปลูกได้ในดินที่มีการระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด ทนแล้งได้ดี
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพยุง
- ยางสด และเปลือก ใช้รักษาโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย
- ราก ใช้รักษาอาการไข้
- แก่น ใช้รักษาเบาหวาน
ความเชื่อของต้นพยุง
เป็นไม้มงคลมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย
ประโยชน์ของต้นพยุง
เนื้อไม้มีสีสันและลวดลายสวยงาม นิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ งานแกะสลัก หรือใช้ทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็ก ๆ และนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงา