ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G.Don
ชื่อภาษาอังกฤษ : White meranti, Phayom
ชื่ออื่นๆ : กะยอม, ขะยอมดง, ชะยอม, แคน, พะยอมดง, พะยอมทอง, ยางหยวก, สุกรม
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้น โคนมน ขอบเป็นคลื่น ใบบาง ผิวเกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียว ใต้ใบมีขนนุ่ม เส้นใบชัดเจน
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบ ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ช่วงเย็น
ผล : รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก สั้น 2 ปีก ห่อหุ้มผลไว้ภายใน
เมล็ด : เป็นเมล็ดเกลี้ยงปลายมีติ่งแหลม
การขยายพันธุ์ของต้นพยอม
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การดูแลต้นพยอม
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด เจริญเติบโตช้า ไม่ชอบดินเค็ม
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพยอม
- ดอก แก้ลม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ
- เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมานลำไส้ แก้ท้องเดิน
ความเชื่อของต้นพยอม
บ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม ไม่ขัดสนเงินทอง ควรปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และควรปลูกวันเสาร์
ประโยชน์ของต้นพยอม
- นิยมปลูกประดับสวน
- ดอกอ่อน รับประทานสด หรือนำมาลวกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก
- เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างทั่วไป และไม้หมอนรถไฟ
- เปลือกต้นสามารถใช้รับประทานกับใบพลู
- เปลือกต้นใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด
- ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ยาเรือ