ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นนนทรี ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K.Heyne
ชื่อภาษาอังกฤษ : Copper Pod, Golden Flamboyant, Yellow Flamboyant, Yellow Flame Tree,Yellow Poinciana
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น กึ่งผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่มดดูหนาทึบ เปลือกลำต้นสีเทา เรอนยอดทรงกลมหรือรูปไข่
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือเว้าตื้น ๆ โคนใบมนและเบี้ยว
ดอก : ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นรูปเจดีย์ที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกดกสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล : เป็นฝักแบนรูปรี ปลายและโคนสอบแหลมสีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ฝักไม่แตก
เมล็ด : แบนรี สีน้ำตาลอ่อน
ชื่ออื่นๆ : กระถินแดง, กระถินป่า, สารเงิน
การขยายพันธุ์ของต้นนนทรี
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นนนทรี
ปลูกได้ในดินทุกประเภท ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน เจริญเติบโตเร็ว
ข้อเสียของต้นนนทรี
เป็นไม้กิ่งเปราะไม่ค่อยต้านทานลมแรง ไม่ควรปลูกใกล้อาคารหรือริมถนนเพราะอาจเกิดอันตรายต่อตัวอาคารและผู้ที่ใช้ถนนได้
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นนนทรี
- เปลือก ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน
- เปลือกและแก่นลำต้น ช่วยขับโลหิต ละลายเสมหะ ขับลม รักษาโรคบิด แก้อาการท้องร่วง และท้องเสียได้ ช่วยในการสมานแผลและรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นด้วย
ความเชื่อของต้นนนทรี
เป็นต้นไม้มงคลที่สำคัญมาก เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ในวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2523 นิยมปลูกไว้ตามสถานที่ราชการต่าง ๆ
ประโยชน์ของต้นนนทรี
- นิยมปลูกให้ร่มเงา ในสวนสาธารณะ ริมถนน
- เปลือกใช้เป็นสีย้อมผ้า ให้สีส้มอมชมพูหรือน้ำตาลอมชมพู
- เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์
- ยอดและฝักอ่อนสามารถใช้เป็นอาหาร