ค้นหาสินค้า

ต้นยางอินเดีย

ขายต้นยางอินเดีย ราคาถูก เป็นไม้มงคล ความเชื่อ ความหมาย การขยายพันธุ์ ลักษณะ วิธีดูแล

ต้นกล้าต้นยางอินเดีย

ขายต้นยางอินเดีย และไม้ตัดใบทุกชนิด
ขายต้นยางอินเดีย และไม้ตัดใบทุกชนิด บางปลาม้า สุพรรณบุรี

ราคา 100.00 บาท /กระถาง

#ยางอินเดียด่างขาว ความสูง 40-60 cm
#ยางอินเดียด่างขาว ความสูง 40-60 cm กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 350.00 บาท /กระถาง

จังหวัดที่ขายต้นกล้าต้นยางอินเดีย

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าต้นยางอินเดีย ทั้งหมดในเว็บ

ความเชื่อของต้นยางอินเดีย ตามหลักฮวงจุ้ย

หากวางต้นยางอินเดียไว้ในบ้านจะช่วยส่งเสริมผู้อยู่อาศัย ช่วยเยียวยาจิตใจให้มีพลัง นิยมวางไว้ตรงมุมมืดจะช่วยเพิ่มพลังชีวิต หรือมุมห้อง และด้วยลักษณะใบกลมมนสื่อถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย และเจริญรุ่งเรืองในหลักฮวงจุ้ย จึงนิยมปลูกไว้ในบ้านเพื่อช่วยเรียกเงินทอง โชคดี และความสำเร็จ

ต้นยางอินเดีย

การปลูกต้นยางอินเดีย

โดยการปักชำหรือการตอนกิ่งต้นยางอินเดีย นิยมใช้ส่วนยอดของต้น ทำให้ได้ต้นใหม่ที่มีรูปทรงสวยงาม ซึ่งการตอนจะใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน ปักชำใช้เวลาประมาณ 20 วัน เมื่อรากงอกแล้วให้นำไปลงปลูกในกระถางหรือแปลง ที่มีดินร่วนผสมกาบมะพร้าวแห้ง แกลบ และมูลสัตว์ เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้ให้ทำการตัดยอดเพื่อจะได้มีการแตกทรงพุ่ม ควรรดน้ำทุก 2-3 วันต่อครั้ง หรือรดน้ำเมื่อหน้าดินแห้ง ยางอินเดียสามารถเติบโตได้ดีทั้งในที่กลางแจ้งหรือที่ร่มรำไร

ต้นยางอินเดีย

ต้นยางอินเดียดำ

ยางอินเดียดำ เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกประดับบ้านมากที่สุด มีลักษณะเด่นคือ ใบสีแดงเมื่อแตกยอดอ่อน ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มไปถึงดำเมื่อโต

ต้นยางอินเดีย

วิธีดูแลต้นยางอินเดีย

ยางอินเดีย นิยมนำมาเพาะชำในกระถาง ใบมีสีสันสวยงาม เป็นพรรณไม้ที่โตเร็ว ดูแลง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งกลางแจ้ง และที่มีแสงน้อย ไม่ควรปลูกชิดอาคาร เนื่องจากระบบรากแผ่ได้ไกล ยางอินเดียมีรากอากาศตามลำต้นทำให้ดูสวยงาม หากปลูกในอาคารควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดใบเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและเงางาม ยางอินเดียมีคุณสมบัติช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนสารพิษให้กลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ ต้นยางอินเดียถ้าวางไว้ตรงมุมมืดจะช่วยเพิ่มพลังชีวิตขึ้น หากวางไว้ในบ้านต้นยางอินเดียจะช่วยส่งเสริมผู้อยู่อาศัย ช่วยเยียวยาจิตใจให้มีพลัง ไม่แนะนำให้ปลูกในบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง เพราะสัตว์อาจได้รับอันตรายจากพิษของยางได้

ต้นยางอินเดีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นยางอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล ความเชื่อ และประโยชน์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นยางอินเดีย

ชื่อภาษาอังกฤษของต้นยางอินเดีย : Rubber Plant หรือ Indian Rubber Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นยางอินเดีย : Ficus Elastica

ลักษณะลำต้นของต้นยางอินเดีย : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งแผ่กว้าง ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มีรากอากาศห้อยย้อยออกมา

ลักษณะใบของต้นยางอินเดีย : เป็นใบเดี่ยวรูปรี ขอบใบเรียบ ใบหนาเกลี้ยงเป็นมันวาว มีหูใบห่อหุ้มยอดอ่อน ก้านใบสีแดง มีใบด่างสีขาว ด่างสีชมพู ด่างเหลือง หรือสีเข้มเกือบดำ และพันธุ์แคระ

ลักษณะดอกของต้นยางอินเดีย : มีสีขาว

ลักษณะผลของต้นยางอินเดีย : สดกลมรี เมื่อแก่เป็นสีเหลือง

รูปภาพต้นยางอินเดียต้นใหญ่
รูปภาพต้นยางอินเดียต้นใหญ่

การขยายพันธุ์ต้นยางอินเดีย

ทำได้โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง

รูปภาพกิ่งพันธุ์ต้นยางอินเดีย
รูปภาพกิ่งพันธุ์ต้นยางอินเดีย

การดูแลต้นยางอินเดีย

ปลูกได้ดีในดินทุกประเภท ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและมีแสงน้อย ต้องการน้ำปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อน ทนแล้งได้ โตเร็ว เลี้ยงง่าย หมั่นเช็ดทำความสะอาดใบด้วยผ้าหรือฟองน้ำนุ่ม ๆ ชุบน้ำบิดหมาด ให้เป็นมันลื่น สวยงาม และกระตุ้นให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี

รูปภาพต้นยางอินเดียด่าง
รูปภาพต้นยางอินเดียด่าง

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นยางอินเดีย

ต้นยางอินเดีย จัดเป็นไม้มงคล เชื่อว่าถ้าปลูกไว้ในบ้านช่วยเรียกเงินทอง โชคดี และความสำเร็จ

รูปภาพต้นยางอินเดียสูง 2 เมตร
รูปภาพต้นยางอินเดียสูง 2 เมตร

ประโยชน์ของต้นยางอินเดีย

ใบยางอินเดียนิยมใช้ประกอบในการทำพวงหรีด ต้นยางอินเดียนิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับในอาคาร มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนสารพิษให้กลายเป็นอากาศบริสุทธิ์

รูปภาพต้นกล้ายางอินเดีย
รูปภาพต้นกล้ายางอินเดีย

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของยางอินเดีย (3736)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ficus annlata
ชื่อวงศ์:  Moraceae
ชื่อสามัญ:  Banyan Tree, Rubber Plant, IndianRubber Tree
ชื่อพื้นเมือง:  ยางลบ,ลุง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นครงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสรรแตกต่างกันตามพันธุ์
    ดอก  เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปยาวรีคล้ายผลออกเป็นคู่ข้างกิ่ง  ดอกเล็ก
    ฝัก/ผล  กลมรี เมื่อสุกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0 . 8 เซนติเมตร
การปลูก:  ปลูกในแปลงปลูก ปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา:  ชอบดินร่วนซุย ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การตอนและการปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    น้ำยางใช้ทำยาง
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศอินเดีย หมู่เกาะมลายู
*เป็นพืชดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม