ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นช้อยนางรำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ความเชื่อ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codariocalyx motorius
ชื่อภาษาอังกฤษ : Telegraph plant, Semaphore plant, Miss Udon Dancing Sunshine
ชื่ออื่นๆ : ช้อยช่างรำ, นางรำ/แพงแดง, ว่านมีด
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม มีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เปลือกลำต้นเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบมน เส้นกลางใบสีขาวนวล ที่โคนก้านใบมีหูใบสองอัน แผ่นใบสีเขียว ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด บนแผ่นใบมีต่อมที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของใบ
ดอก : ออกเป็นช่อแทงออกจากด้านข้างหรือที่ยอด ดอกรูปถั่ว สีม่วงแกมขาวหรือสีม่วงแดง
ผล : เป็นฝักแบนหักข้อ สีน้ำตาล
เมล็ด : สีดำแบน
การขยายพันธุ์ของต้นช้อยนางรำ
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง
การดูแลต้นช้อยนางรำ
ปลูกได้นในดินร่วนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นช้อยนางรำ
- ต้น ราก ใบ รักษาอาการเจ็บป่วย เป็นยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด
- ใบ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ แก้ฝีภายใน
- ลำต้น เป็นยาดับพิษร้อนภายใน เป็นยาแก้ฝีภายใน ฝีในท้อง ยาขับปัสสาวะ
ความเชื่อของต้นช้อยนางรำ
โบราณว่าเป็นไม้กายสิทธิ์ มีอำนาจทางโชคลาภและเมตตามหานิยม หากบ้านหรือร้านค้าใดปลูกไว้ก็จะช่วยกวักเรียกเงินทองมาสู่ผู้ปลูกแบบไม่ขาดสาย
ประโยชน์ของต้นช้อยนางรำ
- นิยมปลูกไว้ในกระถาง ใบอ่อนจะกระดิกเป็นจังหวะ เมื่อตบมือ
- ใบ ทำเป็นใบชาแห้ง ทำให้แก้มแดงจัด