ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นงิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bombax ceiba Linn.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Silk cotton tree, Cotton tree, Red cotton tree, Kapok tree, Shving brush
ชื่ออื่นๆ : งิ้วบ้าน, งิ้วแดง, งิ้วหนาม, งิ้วปงแดง, งิ้วปง, ปองิ้ว
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มรูปไข่ ลำต้นเปลาตรงลำต้นสีเทา มีหนามแหลมคล้ายปีรามิดอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปรีถึงรูปไข่ โคนใบสอบเรียว ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาเกลี้ยง เป็นมัน ใบมีสีเขียว ก้านช่อใบยาว และมีก้านใบสีขาว
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่งหรือปลายยอด ดอกสีแดง สีแสด สีชมพูแกมเลือดหมู และสีทอง มีกลิ่นหอม
ผล : ยาวรี รูปทรงกระบอก ปลายทั้งสองข้างของผลแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลก็จะแข็ง เมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกเป็น 5 พู ตามรอย ภายในผลมีปุยสีขาว
เมล็ด : รูปทรงกลมสีดำ ขนาดเล็ก ถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว
การขยายพันธุ์ของต้นงิ้ว
เพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นงิ้ว
- เปลือกต้น แก้ท้องเสีย แก้บิด ช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการบวม จากการกระแทก รักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง อัมพาต เอ็นอักเสบ
- รากและเปลือก ทำให้อาเจียน ใช้สมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก
- ยาง กระคุ้นความต้องการทางเพศ ห้ามเลือดที่ตกภายใน ขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ระดูมามากกว่าปกติ
- ดอก ห้ามเลือด รักษาแผล ฝีหนอง บรรเทาอาการท้องเดิน บิดมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ
- ผลอ่อน บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต
- เมล็ด รักษาโรคหนองในเรื้อรัง
- ใบสด แช่น้ำ ต้มอาบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย
ประโยชน์ของต้นงิ้ว
- เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้ง ใช้เป็นส่วนประกอบในขนมจีนน้ำเงี้ยว และแกงแค
- เกสรตัวผู้แห้ง นำมาใช้แต่งสีของแกงส้มหรือแกงกะหรี่เพื่อช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทานมากขึ้น
- ดอกสด ใช้ลวกจิ้มกับน้ำพริก
- ปุยนุ่น นำมาใช้ยัดเบาะ ฟูก หมอน ตุ๊กตา ฯลฯ
- เมล็ด นำมาตั้งเอาน้ำมัน ใช้ปรุงอาหาร และใช้ทำสบู่
- เส้นใยจากเปลือกต้น นำมาใช้ทำเชือก
- เนื้อไม้ ทำไม้จิ้มฟัน ก้านไม้ขีดไฟ ของเล่น กล่องใส่สินค้า หีบศพ ไม้พาเลท แจว และพาย
- เปลือกต้น นำมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหม ให้สีเทาม่วงหรือสีน้ำตาล
- ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา
- ใบและยอดอ่อน ใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง