ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นว่านค้างคาวดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca chantrieri Andr?
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bat Flower, Cat’s Whiskers, Devil Flower, Black lily
ชื่ออื่นๆ : ดีงูหว้า, เนระพูสีไทย, มังกรดำ, ว่านค้างคาวดำ, ว่านนางครวญ, ว่านพังพอน, ว่านหัวลา
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าเล็กๆ รูปทรงกระบอก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมัน โคนก้านแผ่เป็นกาบสีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ดอกสีม่วงคล้ำ มีใบประดับมากกว่า 4 ใบ สีเขียวคล้ำ คล้ายปีกค้างคาว ออกดอกตลอดปี
ผล : เป็นผลสด มีเนื้อ รูปรีหรือรูปกระสวย มีสันเป็นคลื่น 6 สันตามยาวาของผล สีน้ำตาลอมม่วง
เมล็ด : รูปไต
การขยายพันธุ์ของต้นว่านค้างคาวดำ
เพาะเมล็ด แยกหน่อ แยกเหง้า
การดูแลต้นว่านค้างคาวดำ
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นว่านค้างคาวดำ
- เหง้า เป็นยาบำรุงกำลังสตรีมีครรภ์ แก้โรคความดันต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ แก้วางเด็ก ดับพิษไข้ แก้อาการไอ แก้ลิ้นคอเปื่อย แก้ปอดพิการ แก้บิด ช่วยสมานแผล
- ทั้งต้น รักษาผื่นคัน รักษาโรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้อาการอาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ
ความเชื่อของต้นว่านค้างคาวดำ
เป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี
ประโยชน์ของต้นว่านค้างคาวดำ
- ใบและยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นผัก
- นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
- เหง้า ยับยั้งการกินของหนอนใยผัก