ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Siamese rough bush, Tooth brush tree
ชื่ออื่นๆ : กักไม้ฝอย, ส้มพอ, สะนาย
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นค่อนข้างคดงอ กิ่งอ่อนมีตุ่มหนามเกาะติดอยู่ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงกลม เปลือกต้นสีเทาขาว ขรุขระ มีน้ำยางสีขาวข้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปไข่และไข่กลับ ปลายมนแหลม โคนเรียวแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื้อย ผิวใบทั้งสองด้านมีตุ่มหนาม เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน ดอกเพศผู้สีเขียวอ่อน ดอกเพศเมียสีเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : ผลสดกลม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีเหลืองสด เนื้อผลเละสีเหลือง
เมล็ด : ทรงกลมเล็ก เปลือกเมล็ดแข็งสีเหลืองอ่อน
การขยายพันธุ์ของต้นข่อย
นิยมใช้รากปักชำ เพาะเมล็ด
การดูแลต้นข่อย
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำน้อย ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพแห้งแล้ง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นข่อย
- ใบ แก้ปวดประจำเดือน
- เปลือก แก้ท้องร่วง รักษาแผล แก้โรคผิวหนัง บิด ปวดฟัน
- เมล็ด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม
- ราก ใช้เป็นยาใส่แผล บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ฆ่าพยาธิ
ประโยชน์ของต้นข่อย
- เนื้อไม้ แปรรูปกระดาษข่อย
- กิ่งสดขนาดเล็ก ช่วยให้ฟันทน
- ใบ ใช้ลูดเมือกจากปลาไหลเพื่อล้างเมือกปลาไหลออกไป
- ผลสุก ใช้รับประทานเป็นอาหารนกและสัตว์เล็ก ๆ
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หรือไม้ดัด
- ปลูกใช้ทำแนวรั้ว