ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะเจียน (3841)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyalthia cerasoides
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ชื่อพื้นเมือง: ค่าสามซีก,แคหาง,จันทน์ดง,ทรายเด่น,พญารากดำ,โมดดง,สะบันงาป่า,เสโพลส่าเหลือง,สะปันงาป่า,ไชยเด่น
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน และมักเบี้ยว ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป ปลายใบแหลม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ใบกว้าง 2-5 ซม. ยาว 8-16 ซม. ใบอ่อนมีขนด้านล่าง เส้นใบเรียวโค้งไม่จดขอบใบ 8-15 คู่
ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ดอก ขนาด 1-1.5 ซม. ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ยอดเกสรตัวเมียกลม ไม่มีก้านชูเนื้อกลีบแข็ง
ฝัก/ผล เป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลป้อม ปลายเป็นติ่ง ก้านผลยาว 1-2 ซม. ขนาดผล 0.5-0.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดเป็นสีแสด ก้านผลเรียวเล็ก โคนก้านติดรวมอยู่บนปลายก้านช่อที่โตเป็นตุ้ม
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอก ก.พ.-มี.ค. ผลแก่ เม.ย.-พ.ค.
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์: - สมุนไพร
- เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใช้ทำด้ามเครื่องมือเกษตรกรรมทั่วไป
- ผลแก่สีแดงจนถึงดำ สุกกินได้ทั้งคนและสัตว์
แหล่งที่พบ: พบทั่ว ๆ ไปในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ที่รกร้างว่างเปล่า
สรรพคุณทางยา: - ราก ต้มน้ำดื่มแก้กษัย ไตพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 เวลา คุมกำเนิดในสตรี แต่กลับบำรุงกำลังสำหรับบุรุษ
- เนื้อไม้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เจ็บหลัง ปวดเอว แก้ปัสสาวะ
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ชื่อพื้นเมือง: ค่าสามซีก,แคหาง,จันทน์ดง,ทรายเด่น,พญารากดำ,โมดดง,สะบันงาป่า,เสโพลส่าเหลือง,สะปันงาป่า,ไชยเด่น
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน และมักเบี้ยว ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป ปลายใบแหลม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ใบกว้าง 2-5 ซม. ยาว 8-16 ซม. ใบอ่อนมีขนด้านล่าง เส้นใบเรียวโค้งไม่จดขอบใบ 8-15 คู่
ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ดอก ขนาด 1-1.5 ซม. ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ยอดเกสรตัวเมียกลม ไม่มีก้านชูเนื้อกลีบแข็ง
ฝัก/ผล เป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลป้อม ปลายเป็นติ่ง ก้านผลยาว 1-2 ซม. ขนาดผล 0.5-0.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดเป็นสีแสด ก้านผลเรียวเล็ก โคนก้านติดรวมอยู่บนปลายก้านช่อที่โตเป็นตุ้ม
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอก ก.พ.-มี.ค. ผลแก่ เม.ย.-พ.ค.
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์: - สมุนไพร
- เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใช้ทำด้ามเครื่องมือเกษตรกรรมทั่วไป
- ผลแก่สีแดงจนถึงดำ สุกกินได้ทั้งคนและสัตว์
แหล่งที่พบ: พบทั่ว ๆ ไปในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ที่รกร้างว่างเปล่า
สรรพคุณทางยา: - ราก ต้มน้ำดื่มแก้กษัย ไตพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 เวลา คุมกำเนิดในสตรี แต่กลับบำรุงกำลังสำหรับบุรุษ
- เนื้อไม้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เจ็บหลัง ปวดเอว แก้ปัสสาวะ