ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นแก้วมุกดา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea ceilanica Thunb.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Gia, Lau binh, Perfume flower tree, Pua Keni Keni, Trai Tichlan
ชื่ออื่นๆ : โกงกางเขา, ฝ่ามือผี, คันโซ่, นางสวรรค์, นิ้วนางสวรรค์, ตังติดนก, โพดา
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม ใบไม่ค่อยร่วง ทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทา
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมติ่ง โคนสอบเรียว ขอบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวมัน สีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือดอกสีเหลืองอ่อน ดอกหอมตลอดวัน ออกดอกมากในฤดูฝน
ผล : มีสีขาวปนเขียว ผิวเรียบมัน แต่เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีดำ ด้านในของผลอุ้มน้ำเนื้อนิ่ม
เมล็ด : สีน้ำตาลแก่
การขยายพันธุ์ของต้นแก้วมุกดา
โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
การดูแลต้นแก้วมุกดา
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดจัด ทนต่อน้ำท่วม
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นแก้วมุกดา
- ราก บำรุงเลือด
- กิ่ง เปลือกต้น และราก สามารถใช้บรรเทาอาการคัน ลมพิษ และอาการแพ้ยางของต้นดอกรัก
ประโยชน์ของต้นแก้วมุกดา
ปลูกประดับสวน ปลูกให้ร่มเงา