ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเหงือกปลาหมอ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อภาษาอังกฤษ : Sea holly
ชื่ออื่นๆ : แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม ลำต้น กลม กลวง ตั้งตรง สีขาวอมเขียว มีหนามตามข้อ และที่ปลายใบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปหอกยาว ขอบจักเว้ากว้างๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม แต่บางครั้งอาจพบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น เนื้อใบเหนียว
ดอก : ออกเป็นช่อตั้งตามยอด ดอกสีขาวอมม่วง
ผล : เป็นฝักกลมรี ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกสีน้ำตาล
เมล็ด : รูปกลมหรือรูปไต ผิวย่น ขรุขระ
การขยายพันธุ์ของต้นเหงือกปลาหมอ
ปักชำ เพาะเมล็ด
การดูแลต้นเหงือกปลาหมอ
เติบโตได้ดีในที่ร่ม และมีความชื้นสูง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเหงือกปลาหมอ
- ต้น แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
- ใบ เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
- ราก ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด รักษามุตกิดระดูขาว
- เมล็ด ปิดพอกฝี แก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย