ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเสม็ดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นเสม็ดแดง : Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum
ชื่ออื่นๆ : ไคร้เม็ด, เม็ก, เม็ดชุน, เสม็ด,เสม็ดเขา,ผักเม็ก, เสม็ดชุน
ลำต้นของต้นเสม็ดแดง : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ต้นแก่มักบิดงอ กิ่งก้านแตกออกเป็นทรงพุ่มหนา
ใบของต้นเสม็ดแดง : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนมน ผิวสัมผัสที่หน้าใบเรียบลื่น ยอดอ่อนเป็นสีแดง
ดอกของต้นเสม็ดแดง : ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ ที่ปลายยอดและซอกใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีดอกดก
ผลของต้นเสม็ดแดง : กลมเป็นพวง สีขาว เป็นผลสด ผลอ่อนมีสีเขียว
เมล็ดของต้นเสม็ดแดง : สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นเสม็ดแดง
ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด
การดูแลต้นเสม็ดแดง
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนแล้ง เจริญเติบโตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเสม็ดแดง
ใบ แก้เคล็ดยอก ฟกบวม
ความเชื่อของต้นเสม็ดแดง
เป็นต้นไม้นำโชค เชื่อกันว่าต้นเสม็ดแดงเป็นที่สิงสถิตของเทพชั้นสูง จะล่วงเกินหรือลบหลู่ไม่ได้เด็ดขาด ยิ่งต้นใหญ่มากเท่าไร ก็ยิ่งมีความขลังมากเท่านั้น หากบ้านไหนมีพื้นที่เพียงพอและปลูกต้นเสม็ดขนาดใหญ่เอาไว้ ก็เชื่อกันว่าจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง คอยป้องกันภัยให้กับคนในบ้าน อีกทั้งยังช่วยให้บ้านหลังนี้มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขด้วย
ประโยชน์ของต้นเสม็ดแดง
- ยอดอ่อน รสเปรี้ยวปนฝาดนำมารับประทานกับน้ำพริก
- ผล มีรสหวานเคี้ยวแล้วชุ่มคอสดชื่น และเป็นอาหารของสัตว์
- เปลือกต้น มีสารแทนนินสูงใช้ย้อมผ้า
- เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์ และทำฟืน
- นิยมนำมาแต่งสวนในพื้นที่กว้าง