ลักษณะพฤกษศาสตร์ของรสสุคนธ์ (3460)
ชื่อวงศ์: Dilleniaceae
ชื่อสามัญ: Rose-Su-Kon
ชื่อพื้นเมือง: เถาะปดใบเลื่อม (ประจวบคีรีขันธ์) บอระคน อรคนธ์ (ตรัง) ปดคาย ปดเลื่อน (สุราษฎร์ธานี) ปดน้ำมัน (ปัตตานี) ปะละ สะปัลละ (มลายู-นราธิวาส) มะตาดเครือ รสสุคนธ์ขาว สุคนธรส เสาวรส (กรุงเทพฯ) ย่านปด (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนแข็งสั้นๆ สากคายมือ
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน ผิวใบสากคาย ขอบใบหยัก ปลายใบแหลมทู่ถึงมนกลม โคน. ใบแหลมถึงสอบแคบ เส้นแขนงใบ 10-15 คู่
ดอก สีขาวถึงขาวอมชมพู กลิ่นหอม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกเป็น ช่อแยกแขนง ช่อหนึ่งๆ 40-80 ดอกกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรีถึงรูปไข่ กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ กลีบปลายเว้า เกสรตัวผู้มีมาก
ฝัก/ผล สีส้มถึงแดง มี 2-3 ผล อยู่รวมกันเป็นกระจุกๆ ละ 3-4 ผล แต่ละผลรูปไข่ ปลายเป็นจะงอยแหลม
เมล็ด รูปไข่ 1-2 เมล็ด มีเนื้อหุ้มสีแดง
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกเป็นระยะตลอดปี โดยเฉพาะพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกมีกลิ่นหอมแรงมากในเวลากลางวันและหอมอ่อนๆ ในเวลากลางคืน
การใช้ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ และสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อน
แหล่งที่พบ: ขึ้นตามป่าละเมาะ ป่าผลัดใบ และริมทะเล