ลักษณะพฤกษศาสตร์ของยี่หุบ (3640)
ชื่อวงศ์: MAGNOLIACEAE
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงไม่เกิน 2 เมตร แตกกิ่ง ใบอยู่เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา เรียบ และแข็ง แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า
ดอก ออกที่ปลายยอด ช่อละ 5-8 ดอก ดอกบานคว่ำลง ดอกตูมรูปไข่ ปลายแหลม มีกาบหุ้มดอกสีเขียว จะหลุดออกเมื่อกลีบดอกเริ่มแย้ม ก้านดอกยาว 1- 2 ซม. กลีบดอก 9 กลีบ เรียง 3 ชั้น กลีบบาง ด้านนอกสีเขียวนวล
ฝัก/ผล เป็นผลกลุ่มคล้ายดอกมณฑา แต่มีขนาดเล็ก มีผลย่อย 6 -10 ผล เปลือกผล สีเขียว หนา แข็ง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผลย่อยจะแตกตามรอยประสานและหลุดร่วง เหลือเมล็ดสีแดงติดที่แกนกลางผล
การดูแลรักษา: ชอบที่รำไร ดินที่ใช้ปลูกต้องร่วนซุย การปลูกในพื้นที่สูง เช่น ภูเขาหรือบนดอย พบว่ามีดอกดกใหญ่ และมีกลีบดอกหนาแข็งกว่า
การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมในเวลาพลบค่ำถึงสายๆ
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: จีนตอนใต้ติดกับเวียดนามตอนเหนือ