ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นชมพู่มะเหมี่ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium malaccense (L.) Merrill & Perry
ชื่อภาษาอังกฤษ : Malay Apple, Pomerac
ชื่ออื่นๆ : ชมพู่แดง , ชมพู่สาแหรก
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นหยาบขรุขระ ต้นมีสีน้ำตาล ลำต้นเหนือดิน สามารถตั้งตรงได้เองไม่มียาง เรือนยอดทรงกลมหนาทึบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีของใบอ่อนเป็น สีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะมีสีเขียวเข้มมีลักษณะมันเลื่อมการเรียงตัวเป็นแบบคู่ตรงข้าม รูปร่างรูปหอกกลับ ปลายใบแหลมเข็ม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามลำต้นหรือกิ่ง สีของดอกมีสีชมพูเข้ม มีกลิ่นหอม
ผล : ทรงกลมหรือรียาว รูประฆัง อวบอ้วน ผลอ่อนมีสีเขียวอมขาว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม และเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมแดง เนื้อผลหนา และนุ่ม มีสีขาว
เมล็ด : กลม เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำ
การขยายพันธุ์ของต้นชมพู่มะเหมี่ยว
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การดูแลต้นชมพู่มะเหมี่ยว
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลาง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นชมพู่มะเหมี่ยว
- ราก แก้คัน แก้ไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ
- เปลือกราก ขับประจำเดือน
- ใบ แก้บิด
ประโยชน์ของต้นชมพู่มะเหมี่ยว
- นิยมนำผลสุกมารับประทานสด เนื้อผลหนา เนื้อมีความนุ่ม มีรสเปรี้ยวอมหวาน และมีกลิ่นหอม
- ผลห่าม ใช้ประโยชน์เพื่อประกอบอาหาร
- ผลสุก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
- ยอดอ่อน ใช้รับประทานคู่กับอาหาร หรือเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก
- ปลูกเป็นไม้ประดับร่วมด้วยกับการปลูกเพื่อรับประทานผล