ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นนางพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides Buch.-Ham. ex D.Don
ชื่อภาษาอังกฤษ : Wild Himalayan Cherry, Sour cherry
ชื่ออื่นๆ : ชมพูภูพิงค์
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เปลือกต้นเรียบเป็นมัน สีเหลืองน้ำตาล มีรูอากาศขนาดใหญ่ เยื่อผิวบาง หลุดลอกง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนานแกมรูปหอก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบกลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่สองชั้น จักฟันนเลื่อยสองชั้น หรือจักฟันเลื่อย เยื้อใบบาง ผิวใบเรียบ เกลี้ยง
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีชมพูแดง สีแดง หรือสีขาว
ผล : เป็นผลสด ผลรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงคล้ำ ถึงสีม่วงดำ ผิวเรียบ เกลี้ยง เป็นมันเงา
เมล็ด : แข็ง ค่อนข้างกลม
การขยายพันธุ์ของต้นนางพญาเสือโคร่ง
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นนางพญาเสือโคร่ง
- เปลือกต้น เป็นยาแก้ไอ เลือดกำเดาไหล ลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ตำคั้นน้ำทาหรือพอก แก้ข้อแพลง ฟกช้ำ ปวดข้อ
- ราก ตำหรือบด ทำเป็นยาพอกแก้รอยฟกช้ำ ปวดตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ คั้นน้ำหยอดจมูกแก้เลือดกำเดา แน่นจมูก และดื่มแก้ไอ
- เมล็ด น้ำจากเมล็ดแก้โรคนิ่ว ใช้ในอุตสาหกรรมเภสัช
- กิ่งและใบ เป็นยาทำแท้ง
ประโยชน์ของต้นนางพญาเสือโคร่ง
- ผล รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เนื้อไม้ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร ทนทาน ทำเครื่องประดับบ้าน
- ปลูกเป็นไม้เบิกนำ นำไปปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าดิบเขาในพื้นที่ต้นน้ำ หรือปลูกในพื้นที่ที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอยบนพื้นที่สูง เป็นไม้โตเร็ว ทนทานต่อไฟป่า