โทษของหมากพลู
หากเคี้ยวหมากประจำ จะมีอาการแสบร้อนในปากเวลากินอาหารรสเผ็ด จมีรอยฝ้าขาวบนเพดานปาก กระพุ้งแก้ม และริมฝีปาก ตุ่มพอง และแผลในปาก อาการน้ำลายมากผิดปกติ อาจมีอาการปากแห้ง ทำให้เป็นโรคพังผืดของช่องปาก รวมทั้งโรคมะเร็งของช่่องปาก
จำหน่ายต้นหมาก กล้าและกิ่งพันธุ์หมาก สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์
หากเคี้ยวหมากประจำ จะมีอาการแสบร้อนในปากเวลากินอาหารรสเผ็ด จมีรอยฝ้าขาวบนเพดานปาก กระพุ้งแก้ม และริมฝีปาก ตุ่มพอง และแผลในปาก อาการน้ำลายมากผิดปกติ อาจมีอาการปากแห้ง ทำให้เป็นโรคพังผืดของช่องปาก รวมทั้งโรคมะเร็งของช่่องปาก
- เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ ใช้กำจัดหนอนในเวลาที่วัวหรือควายเป็นแผลมีหนอน
- ยอดของลำต้น นำมารับประทานเป็นอาหาร
- จั่นหมากหรือดอกหมากที่ยังออ่นออยู่ใช้รับประทานเป็นอาหาร
- ช่อดอก นำมาใช้ในงานแต่งงานและงานศพ
- กาบใบ นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำภาชนะ เครื่องจักสาน หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของได้ ปลอกมีด
- กาบหมาก นำมาใช้ทำพัด
- เนื้อในเมล็ด นำมาใช้ในการผลิตสีย้อมผ้า
- เปลือกผล นำมาใช้ทำเชื้อเพลิง
- ลำต้น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง
- เป็นไม้ประดับ
- คนไทยสมัยก่อนใช้ผลหมากกินร่วมกับพลูและปูนแดง โดยเคี้ยวหลังรับประทานอาหาร เพื่อให้ลมหายใจสดชื่น และช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย และกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
-นำมาใช้ในพิธีทางศาสนา พิธีไหว้ครู และพิธีบายศรีสู่ขวัญ หรือนำไปเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- ผลหมากนำมาย้อมแห อวน ทำให้แหหรืออวนนิ่งอ่อนตัว เส้นด้วยไม่เปื่อยเร็ว ใช้สกัดเป็นน้ำยาผอกหนัง ทำให้หนังนิ่มมีสีสวย และใช้สกัดเป็นยารักษาโรค
- ควรเป็นที่โล่งแจ้งหรือแสงรำไร ขนาดแปลงชำกว้าง 1 เมตร ความยาวไม่จำกัด ดินควรเป็นดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี
- ระยะห่างระหว่างต้น 30*30 เซนติเมตร ขุดหลุมให้ลึกพอสมควร
- ย้ายต้นกล้าหมากจากแปลงเพาะ อย่าให้ผลที่เพาะหลุดจากต้นกล้า นำไปวางในหลุมที่ขุดไว้ กลบดินให้แน่นติดผลหมาก รดน้ำให้ชุ่ม
- 2 สัปดาห์แรก ให้ทำร่มพรางแสง หลังจากนั้นค่อยที่พรางแสงออก
- ให้น้ำทุก 2 วัน คอยดูแลวัชพืช และศัตรูพืชในแปลงชำ
- เมื่อต้นกล้าอายุได้ 6-8 เดือน หรือมีทางใบ 4-6 ชุด ให้ขุดไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้
- นำถุงพลาสติกขนาด 5*7 นิ้ว หรือใหญ่กว่า เจาะรูที่ก้นถุง 3-4 รู บรรจุดินที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณครึ่งถุง
- ย้ายต้นกล้าหมากจากแปลงเพาะ อย่าให้ผลที่เพาะหลุดจากต้นกล้า นำไปวางในถุง กลบดินถึงโคนต้น กดดินให้ปน่นพอสมควร รดน้ำให้ชุ่ม นำไปวางในที่ร่มรำไร ให้ห่างกันประมาณ 30 เซนเติเมตร
- รดน้ำทุก 2 วัน จนต้นกล้าหมากอายุประมาณ 6 เดือน- 1ปี จึงนำไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้
- เตรียมแปลงเพาะที่ความกว้าง 1 เมตร ความยาวตามที่ต้องการ
- ขุดดินที่จะเพาะให้ลึกประมาณ 6 นิ้ว ดินที่ใช้เพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย หรือดินที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ แล้วใช้ขี้เถ้าแกลบโรยให้ทั่วสูงประมาณ 3-4 นิ้ว
- นำผลหมากมาวางเรียงเป็นแถวให้ผลติดกัน โดยวางผลให้ตั้งตรง ให้ขั้วผลอยู่ด้านบน เรียงผลหมากจนเต็มแปลง แล้วใช้ขี้เถ้าแกลบแลบผลหมากให้มิด รดน้ำให้ชุ่ม
- แปลงปลูกเป็นที่โล่งแจ้ง ให้ทำหลังคาคลุมแปลงเพื่อรางแสง
- ให้น้ำวันเว้นวัน ถ้าวันไหนฝนตกก็ไม่ต้องรด
- หลังจากเพาะหมากไปแล้ว 1-2 เดือน ผลหมากจะงอกมาเป็นปุ่มเล็กๆ ทิ้งไว้อีก 4-5 เดือน ต้นหมากจะแตกใบออกเป็น2 แฉก สูงประมาณ 6-8 นิ้ว จึงนำไปกล้าหมากย้ายไปชำในแปลงหรือชำในถุงพลาสติก
- เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ กำจัดหนอน ในสัตว์
- ยอดอ่อนของลำต้น จั่นหมากหรือดอกหมากเมื่อยังอ่อนนำมารับประทานเป็นอาหารจำพวกผัก
- ช่อดอกนำมาใช้ในงานแต่งงานและงานศพ
- กาบใบนำมาทำภาชนะ เครื่องจักสาน ปลอกมีด หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของได้
- กาบหมากนำมาใช้ทำพัด
- เนื้อในเมล็ดสามารถนำมาใช้ในการผลิตสีย้อมผ้า
- เปลือกผลสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง
- ลำต้นสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง
- ต้นหมากนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
- ผลหมากนิยมนำมากินร่วมกับใบพลูกับปูน และนำมาใช้ในพิธีทางศาสนา หรือนำมาจัดเป็นชุดขายเพื่อนำไปเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- มีสรรพคุณทางสมุนไพร
- ผลหมากเมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยาง และสาร Arecoline ซึ่งมีสารแทนนินสูง จึงสามารถนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น การใช้ทำสีต่าง ๆ ใช้ย้อมแห อวน ทำให้แหหรืออวนนิ่มอ่อนตัว เส้นด้ายไม่เปื่อยเร็ว ช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น และยังใช้สกัดเป็นน้ำยาฟอกหนัง ทำให้หนังนิ่มมีสีสวย
ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมากสง : Areca catechu L.
ชื่อภาษาอังกฤษของหมากสง : Betel palm, Areca plam
ชื่ออื่นๆ : หมาก
ลำต้นของหมากสง : เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอกยาว มีข้อปล้องชัดเจน ไม่แตกกิ่ง เปลือกค่อนข้างขรุขระ
ดอกของหมากสง : ออกตามซอกโคนก้านใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลิ่นหอม สีขาวแกมเหลือง
ผลของหมากสง : ออกเป็นช่อ ผลรูปไข่ เป็นผลสด เปลือกผลเป็นเส้นใย ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่มีสีส้ม ออกผลตลอดปี
เมล็ดของหมากสง : กลมรีใหญ่แข็ง สีน้ำตาลลายขาว
ใบของหมากสง : เป็นใบประกอบขนนก เรียงตัวหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปใบหอกแกมรูปดาบ ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม เส้นใบแตกแบบขนาน เส้นกลางใบเห็นชัดเจน โคนใบเป็นกาบใหญ่หุ้มต้น เมื่อแก่จะร่วง
โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลางถึงแดดจัด
เป็นยาสมานแผล ยาขับพยาธิในสัตว์ ทำให้เหงือกและฟันแข็งแรง ลดอาการบวมน้ำ บำรุงธาตุ
ยอดอ่อนนำมาเป็นผักลวก เมล็ดอ่อนสดหรือหั่นตากแห้งกินกับพลูและปูน กาบใบใช้ทำเครื่องจักรสาน เนื้อในเมล็ดใช้ทำสีย้อมผ้า นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ