ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นสะตอ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia speciosa Hassk.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Stink bean, Bitter bean, Twisted cluster bean
ชื่ออื่นๆ : สะตอข้าว, สะตอดาน, ตอ, ลูกตอ , ปาไต
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่งแผ่กว้าง ลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน หรือ สีน้ำตาลขาว ลอกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย หรือ เป็นร่องตื้นๆ บริเวณกิ่งก้านมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม โคนต้นเป็นพูพอน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบเป็นแบบขอบขนาน สีเขียวสดถึงเขียวเข้มตามอายุใบ แผ่นใบเรียบบาง แต่จะเหนียว และแข็ง ปลายใบมน มีติ่งเล็กตรงกลางของปลายใบ
ดอก : ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะยาวห้อย มีก้านช่อดอก
ผล : เป็นฝัก มีลักษณะแบน มีทั้งชนิดที่เป็นฝักบิดเป็นเกลียว (สะตอข้าว) และชนิดที่แบนตรง (สะตอดาน) เปลือกฝักมีสีเขียว และค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำ ตรงกลางฝักเป็นตุ่มนูน
เมล็ด : คล้ายหัวแม่มือ หรือ รูปรีค่อนข้างกลม เมล็ดอ่อนมีสีเขียว ให้รสหวานมัน มีกลิ่นฉุน
การขยายพันธุ์ของต้นสะตอ
เพาะเมล็ด และติดตา
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นสะตอ
- เมล็ด กินเพื่อขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
- เนื้อในฝัก รักษาโรคเบาหวาน
ประโยชน์ของต้นสะตอ
- เมล็ด นิยมนำมาประกอบอาหาร ใช้กินเป็นผักเหนาะ
- ยอดใช้กินเป็นผักเหนาะ
- เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน
- ช่วยเป็นร่มเงา
- เมล็ดใช้ผสมกับผักหรือเศษอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์