ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นชะพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wildbetal Leafbush
ชื่อภาษาอังกฤษ : Wildbetal Leafbush
ชื่ออื่นๆ : นมวา, ผักปูนา, ผักพลูนก, พลูลิง
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้น ลำต้นสีเขียว มีรากงอกออกตามข้อ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบมีกลิ่นหอม
ดอก : ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด ดอกรูปทรงกระบอก ดอกสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว
ผล : เป็นผลสด กลม ผิวมัน สีเขียว อัดแน่นอยู่บนแกน
เมล็ด : มีขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ของต้นชะพลู
ปักชำ แยกเหง้า
การดูแลต้นชะพลู
ปลูกได้ในดินร่วนซุย เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชื้น ชอบแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นชะพลู
- ผล รักษาโรคหืด แก้บิด
- ราก บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด ขับเสมหะ
- ต้น แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคเบาหวาน
- ใบ ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ
- ดอก ขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
ประโยชน์ของต้นชะพลู
- ใบ นำมาประกอบอาหาร หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก
- ใบ นำมารับประทานกับเมี่ยงคำ
ข้อเสียของต้นชะพลู
ใบชะพลูสดไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือไม่ควรกินเป็นประจำก็เพราะมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตสูง จะทำให้เวียนศีรษะ และอาจทำให้เกิดนิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะ ควรดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง และถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม