ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea Lam.
ชื่อภาษาอังกฤษ : cassod tree, Thai copper pod, Siamese senna, Siamese cassia
ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กหลวง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เนื้อไม้แข็งเหนียว เรือนยอดเป็นพุ่มแคบๆ ทึบสีเขียวเข้ม ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นร่มทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ ใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบโค้งมนเว้าตื้นมีติ่งหนามโคนมนและเฉลียง ก้านใบย่อยสั้น ตัวใบและขอบใบเรียม ผิวใบด้านบนมีไขเคลือบฉาบ
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง
ผล : เป็นฝักแบบแห้งแล้วแตก แบนยาวปลายเป็นติ่งหนามแหลม
เมล็ด : แบน และรี สีน้ำตาลแดง ถึงน้ำตาลดำ
การขยายพันธุ์ของต้นขี้เหล็ก
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นขี้เหล็ก
ปลูกได้ในดินร่วน ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นขี้เหล็ก
- ดอก รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ รักษาหืด โรคโลหิตพิการ รักษารังแค และขับพยาธิ
- ราก รักษาไข้ เหน็บชา แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ
- ลำต้นและกิ่ง เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้นิ่ว ขับระดูขาว
- ทั้งต้น ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
- เปลือกต้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย
- แก่น รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร
- ใบ รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการนอนไม่หลับ
- ฝัก แก้พิษไข้ แก้ลมขึ้น
- เปลือกฝัก แก้เส้นเอ็นพิการ
ประโยชน์ของต้นขี้เหล็ก
- ยอดอ่อนและดอกตูมรับประทานได้
- ใบแก่ ทำปุ๋ยหมัก