ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระดาด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia indica Schott
ชื่อภาษาอังกฤษ : Elephant ear, Giant taro, Ape, Ear elephant, Giant alocasia, Pai
ชื่ออื่นๆ : กระดาดขาว, บอนกาวี, บอนโหรา
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุกลำต้นอยู่เหนือดิน มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นสั้นตั้งตรง อวบน้ำ สีม่วงปนสีน้ำตาล มีเหง้าทอดไปตามพื้นดิน มีน้ำยางสีแดงที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหัวใจ ปลายติ่งแหลม โคนเว้าลึก ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียว เรียบ เป็นมัน ก้านใบใหญ่ สีเขียว
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายยอด ช่อดอกเป็นแท่งยาวปลายแหลม ดอกมีกาบสีเหลืองอมเขียวหุ้ม
ผล : เป็นผลสด ทรงกลม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีแดง เนื้อนุ่ม
เมล็ด : แข็ง ทรงกลม สีดำ
การขยายพันธุ์ของต้นกระดาด
เพาะเมล็ด แยกกอ และไหล
การดูแลต้นกระดาด
ปลูกได้ในดินร่วนปนดินเหนียว ต้องการน้ำมาก ชอบแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระดาด
- เหง้า เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
- ไหล ขับพยาธิ
- ลำต้น เป็นยาระบายอ่อนๆ
- ใบ ห้ามเลือด แก้ท้องผูก
ประโยชน์ของต้นกระดาด
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- เหง้า สะสมอาหารต้มสุกกินได้
- ผล ใช้เป็นอาหารสัตว์