ค้นหาสินค้า

ตาเป็ดตาไก่

ขายตาเป็ดตาไก่ พันธุ์ตาเป็ดตาไก่ สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นตาเป็ดตาไก่

ต้นมหาเฮง หรือต้นตาเป็ดตาไก่แดง
ต้นมหาเฮง หรือต้นตาเป็ดตาไก่แดง ภูเรือ เลย

ราคา 20.00 บาท /ถุง

มหาเฮง
มหาเฮง องครักษ์ นครนายก

ราคา 120.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นตาเป็ดตาไก่

นครนายก (1 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นตาเป็ดตาไก่ ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าตาเป็ดตาไก่

ต้นมหาเฮง
ต้นมหาเฮง ภูเรือ เลย

ราคา 35.00 บาท /ต้น

 #มหาเฮง ไม้มงคล ต้นพันธุ์แข็งแรง รากเดินทุกต้น
#มหาเฮง ไม้มงคล ต้นพันธุ์แข็งแรง รากเดินทุกต้น กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 120.00 บาท

ต้นมหาเฮง
ต้นมหาเฮง องครักษ์ นครนายก

จังหวัดที่ขายต้นกล้าตาเป็ดตาไก่

นครนายก (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าตาเป็ดตาไก่ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นตาเป็ดตาไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia crenata

ชื่อภาษาอังกฤษ : Christmas berry, Australian holly, Coral ardisia, Coral bush, Coralberry, Coralberry tree, Hen's-eyes, Hilo Holly, Spiceberry

ชื่ออื่นๆ : ก้างปลาดง, ตับปลา, ลังกาสา, จ้ำเครือ, ลังกาสาขาว, มหาเฮง, เม็ดเงินเม็ดทอง

ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม เรือนยอดตรง เปลือกไม้เรียบ สีเขียวปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยักมนและมีต่อม เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบอ่อนสีเขียวเหลือง ใบแก่สีเขียวเข้ม

ดอก : ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่มที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกเป็นสีชมพูแกมขาว หรือสีม่วงแกมชมพู

ผล : เป็นผลเดี่ยว รูปครึ่งวงกลมมนขนาดเล็ก ผิวมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกมีสีแดง

เมล็ด : สีดำเป็นร่องตามแนวยาว

ตาเป็ดตาไก่

การขยายพันธุ์ของต้นตาเป็ดตาไก่

เพาะเมล็ด

การดูแลต้นตาเป็ดตาไก่

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นตาเป็ดตาไก่

- ราก เป็นยาช่วยเจริญอาหาร

- ใบ ใช้ต้มกับน้ำอาบแก้ผื่น ตุ่มตามผิวหนัง

- เปลือก แก้ไข้

- ทั้งต้น รักษาโรคประดง ยาแก้ปากเปื่อย

- เปลือกเถา ขับโลหิตระดูสตรีให้เป็นปกติ แก้โลหิตระดูขาว บำรุงโลหิต

ความเชื่อของต้นตาเป็ดตาไก่

เป็นไม้มงคล ที่ใช้สำหรับส่งมอบเป็นของขวัญแก่ผู้เป็นที่รักนับถือในช่วงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากผลสุกของต้นตาเป็ดตาไก่นั้นเป็นสีแดงสดงดงามคล้ายสีดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของญี่ปุ่น

ประโยชน์ของต้นตาเป็ดตาไก่

- ยอดใช้รับประทานเป็นผักสด

- ผลสุก มีรสหวานใช้รับประทานได้

- ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป


การติดตายางเขียว (Green Budding) (3808)

การติดตาเขียว เป็นวิธีการขยายพันธุ์ยางโดยการติดตาอย่างหนึ่ง ที่มีวิธีการและเทคนิคที่ดีกว่าการติดตาแบบสีน้ำตาล (Brown Budding) สามารถทำได้รวดเร็ว ให้ผลสำเร็จสูงกว่า เพราะมีข้อดีอยู่หลายประการ คือ
-ทำการติดตาได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกให้ผลผลิตสูงถึง 90-95%
-เสียค่าใช้จ่ายหรือลงทุนน้อยกว่า
-กิ่งตาเขียวที่ได้จากต้นกิ่งตา สามารถผลิตได้รวดเร็ว และได้จำนวนมากกว่า การผลิกิ่งตาแบบสีน้ำตาล
-ได้รับผลตอบแทนจากต้นยางได้เร็วกว่า ทั้งนี้ เพราะว่าการติดตาเขียวนั้น ต้นตอที่ใช้ติดตามีอายุประมาณ 4 ? - 5เดือน อย่างสูงไม่เกิน 8 เดือน ส่วนการติดตาสีน้ำตาลต้องใช้ต้นตอที่มีอายุประมาณ 1 – 1 ? ปี

วิธีการติดตา
การเตรียมตนตอ (Stock preparation)
-ใช้เศษผ้าทำความสะอาดบริเวณโคนต้นตอก่อนที่จะเปิดรอยแผลบนต้นตอ
-ใช้ปลายมีดกรีดเปลือกของต้นตอพอถึงเนื้อไม้ ในแนวดิ่ง 2 รอย มีความยาวประมาณ 5 ซ.ม. ห่างกันประมาณ 1 ซ.ม. แล้วใช้ปลายมีดกรีดตัดในแนวขวาง เพื่อเชื่อมปลายของรอยกรีดทั้งสองข้าง
-ใช้ส่วนที่เป็นด้ามงาของอีกทางหนึ่ง แงะเปลือกออกเล็กน้อยแล้วใช้มือทั้งสองค่อยๆ ดึงเปลือกออก
-ใช้ปลายมีดตัดเปลือกออกให้เหลือเป็นลิ้นยาวประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อใช้เป็นที่สำหรับสอดและบังคับแผ่นตาให้อยู่บนรอยของต้นตอ เพื่อสะดวกแก่การติดตา ลิ้นควรอยู่ข้างล่างรอยแผลซึ่งเป็นส่วนโค้งของต้นตอ
-การเปิดรอยแผลบนต้นตอ ควรให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติการติดตาไว้สะดวก

การเตรียมแผ่นตา (Budpatch preparation)
-ทำความสะอาดกิ่งตาเขียวโดยใช้เศษผ้าเช็ดเบาๆ เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกก่อน
-ใช้ใบมีดคมเฉือนแผ่นตาให้มีเนื้อไม้ติดอยู่ด้วย ยาวประมาณ 6-7 ซ.ม. คือให้ยาวกว่ารอยแผลต้นตอ โดยมีตาอยู่ตรงกลางของแผ่นตา
-แต่งริมแผ่นตาทั้งสองข้างให้เรียบร้อย และให้เล็กกว่ารอยแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอเล็กน้อย เพื่อให้สอดเข้ากับรอยแผลได้ง่าย
-ค่อยๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากแผ่นตา จับแผ่นตาให้แน่น พยายามอย่าให้แผ่นตาโค้งหรืองอเพราะจะทำให้แผ่นตาช้ำ
-จับปลายแผ่นตาหงายลงบนกล่องไม้ ใช้มีดตัดบริเวณส่วนโคนของแผ่นตาทิ้งไปเล็กน้อย
-ค่อยๆ สอดแผ่นตาลงในรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้ โดยสอดลงในลิ้น ลิ้นจะบังคับแผ่นตาไม่ให้ตกหรือหลุด ตรวจดูด้วยว่าแผ่นตาที่สอดลงไปนั้น ตาจะต้องอยู่เหนือรอยแผลก้านใบเสมอไป
-ใช้ผ้าพลาสติกพันให้ทับกันขึ้นไปจากข้างล่างขึ้นข้างบน ให้แน่นพอสมควรจนเกือบสุดรอยแผลใช้มีดตัดแผ่นตาส่วนที่เกินจากรอยแผลบนต้นตอออกทิ้งไป จากนั้นพันต่อไปจนพ้นรอยแผลประมาณ 1 นิ้ว ม้วนปลายพลาสติกที่เหลือมัดกับต้นตอให้แน่น
การที่ต้องพันทับกันจากข้างล่างขึ้นบนนี้ก็เพราะว่า จะช่วยป้องกันน้ำฝนไม่ให้เข้ารอยแผล ซึ่งอาจจะทำให้ผลการติดตาเสียหายได้

การเปิดตาเพื่อสำรวจผลสำเร็จ (Unwraping)
เมื่อได้ทำการติดตาไปแล้วประมาณ 3 อาทิตย์ ต่อมาให้ทำการตรวจดูผลสำเร็จได้ ถ้าเห็นว่าแผ่นตายังมีสีเจียวอยู่ก็แสดงว่าการติดตาเป็นผลสำเร็จ ให้ใช้ปลายมีดคมกรีดลงบนผ้าพลาสติกด้านหลังของต้นตอตรงกันข้ามแผ่นตา เมื่อพลาสติกขาดออกจากกันแล้วแกะผ้าพลาสติกออก ส่วนต้นไหนที่เห็นว่าแผ่นตาเป็นสีดำ ซึ่งแสดงว่าการติดตาไม่เป็นผลสำเร็จ ให้ใช้ปลายมีดกรีดลงบนผ้าพลาสติกด้านหน้าของแผ่นตานั้นอีกด้านหนึ่งของต้นตอก็จะใช้ติดตาซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง

การติดตาเขียวที่ให้ได้ผลสำเร็จสูงนั้น นอกจากการปฏิบัติตามที่กล่าวมา บวกกับความชำนาญของคนติดตาแล้ว ยังต้องอาศัยแสงแดดช่วยด้วย ดังนั้น การติดตาเขียวจึงจำเป็นต้องใช้ผ้าพลาสติกใส เพื่อให้แสงแดดผ่านถึงแผ่นตาได้ ในแปลงต้นตอที่ทึบเกินไป ผลสำเร้๗ที่ได้จากการติดตาเขียวจะต่ำ