ค้นหาสินค้า

ตะโก

ขายต้นตะโกราคาถูก ประดับบ้าน ต้นไม้ทำรั้ว และบังแดดให้ร่มเงา ตะโกต้นเล็กต้นใหญ่ ปลูกในกระถาง วิธีดูแล

ต้นตะโก

ต้นตะโก
ต้นตะโก คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท /1ต้น

จังหวัดที่ขายต้นตะโก

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นตะโก ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์ตะโก

เมล็ดพันธุ์ ตะโก 10เมล็ด 29 บาท  ตะโกนา  ไม้มงคล
เมล็ดพันธุ์ ตะโก 10เมล็ด 29 บาท ตะโกนา ไม้มงคล เวียงชัย เชียงราย

ราคา 29.00 บาท /เมล็ด

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ตะโก

เชียงราย (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ตะโก ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodocalyx Kurz

ชื่อภาษาอังกฤษ : Ebony

ชื่ออื่นๆ : โก, มะโก, นมงัว, มะถ่านไฟผี, ตะโกนา

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทึบ ปลายกิ่งมักห้อยลู่ลง ลำต้นเปลาตรง เปลือกแตกเป็นร่อง มีสะเก็ดหนา สีดำ เนื้อไม้สีขาว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือป้อม ปลายใบทู่หรือโค้งมน โคนใบสอบแคบหรือมน แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ท้องใบอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล

ดอก : เป็นดอกแยกเพศต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอม

ผล : ทรงกลม เป็นผลสดมีเนื้อ ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ผลแก่เกลี้ยงและออกสีเหลืองส้ม

เมล็ด : เป็นรูปไข่แบน สีน้ำตาลเข้ม

ตะโก

การขยายพันธุ์ของต้นตะโก

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

การดูแลของต้นตะโก

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดทั้งวัน ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นตะโก

- ราก แก้โรคเหน็บชา โรคทางเดินปัสสาวะ น้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อย ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน

- เปลือก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง กระตุ้นร่างกายกระปรี้กระเปร่า

- ผล แก้ท้องร่วง ตกเลือด แก้บวม ขับพยาธิ แก้ฝี แผลเน่าเปื่อย

- เปลือกผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของต้นตะโก

- ผลสุกรับประทานได้ รสหวานอมฝาด

- ปลูกเป็นไม้ประดับ ทำไม้ดัด

- ผลอ่อนทำสีย้อมแห อวน และผ้า สีดำ

- เนื้อไม้ ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำด้ามอุปกรณ์


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของตะโก (3678)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Diospyios rhodcalyx
ชื่อวงศ์:  Ebenaceae
ชื่อสามัญ:  Ebony
ชื่อพื้นเมือง:  ตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ
    ใบ  เดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่ หรือรูปป้อมๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ ผิวเกลี้ยงเขียวสด ใบดกและหนาทึบ
    ดอก  ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1–3 มม. มีขนนุ่ม ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ ละประมาณ 3 ดอก ดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวๆ
    ฝัก/ผล  กลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมาก
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม- เมษายน
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด,ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์:
    - ไม้ประดับ
    - สมุนไพร
    - ไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือด้ามเครื่องมือ
    -  ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า ย้อมแห
    - ไม้ดัด
แหล่งที่พบ:  ขึ้นได้ทั่วประเทศเว้นภาคใต้  พบตามป่าผลัดใบจนถึงริมทุ่งนาที่ระดับ 40- 300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ผลสุกกินได้
สรรพคุณทางยา:
    - เปลือก ต้น และแก่น บำรุงธาตุ  บำรุงกำลัง ต้มกับเกลือ  อมรักษารำมะนาด   
    - ผลแก้ท้องร่วง  คลื่นไส้ ท้องเสีย แก้อาการบวม ขับพยาธิ แก้กษัย แก้ฝีเน่า
    - เปลือกผล เผาเป็นถ่าน ขับปัสสาวะ
    - เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง