ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa (Lour.) Merr.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ceylon oak
ชื่ออื่นๆ : บักคร้อ, ตะคร้อไข่
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นบิดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปทรงกรวยหรือรูปร่ม เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แผ่นใบรูปรี โคนใบมนปลายใบมีหางสั้น ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย
ดอก : ออกเป็นช่อที่ง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองอมเขียว
ผล : เป็นทรงกลมหรือรูปไข่ปลายติ่งแหลม แข็ง ผลดิบมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลเมื่อสุก เนื้อในมีสีเหลืองส้ม
เมล็ด : แข็งทรงกลมสีน้ำตาลดำ
การขยายพันธุ์ของต้นตะคร้อ
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นตะคร้อ
ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นตะคร้อ
- ราก ใช้แก้กษัย ถ่ายพิษเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายใน
- เปลือกราก ใช้เป็นยาระบาย บำรุงฟัน บำรุงสายตา บำรุงประสาท ช่วยเจริญอาหาร ฟอกโลหิต แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข้ทับระดู
- เนื้อผล ใช้สมานท้อง แก้ท้องเสีย ท้องร่วง
- เปลือกไม้ : เปลือกใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี
ประโยชน์ของต้นตะคร้อ
- ผลสุก รับประทานเนื้อหุ้มเมล็ด นำมาทำเครื่องดื่มดับกระหายในหน้าร้อน รวมถึงนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทยำ และน้ำตะคร้อสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมะนาว
- ผลดิบสามารถนำมาทำเป็นผลไม้ดอง
- ใบอ่อนตะคร้อ ก็สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักแกล้ม
- เปลือกต้น ใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยสีที่ได้ คือ สีน้ำตาล
- เนื้อไม้ตะคร้อ มีลักษณะแข็งและเหนียวจึงสามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมได้เช่น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ในการก่อสร้างบ้านเรือน
- เมล็ดตะคร้อที่บดแห้งสามารถใช้ในแผลอักเสบของสัตว์พวกวัว-ควาย เพื่อกำจัดหนอนและแมลงที่ตอมแผล
- ใบและกิ่งรวมถึงกากเมล็ดนำมาทำเป็นอาหารสัตว์