ลักษณะพฤกษศาสตร์ของดีปลี (3440)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper chaba Hunt.
ชื่อวงศ์: PIPERACEAE
ชื่อสามัญ: Long Pepper, Indian Long Peppe
ชื่อพื้นเมือง: ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง) พิษพญาไฟ
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เถาดีปลีนั้นมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบเป็นมัน
ดอก ออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็ก กลม ฝังตัวกับช่อดอก
ฝัก/ผล ผลอ่อนสีเขียว อัดแน่นบนแกนช่อ โคนกว้าง ปลายมน รสเผ็ด เมื่อสุกเป็นสีแดง
การขยายพันธุ์: การปักชำ และการเพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ทุกส่วนมีกลิ่น โดยเฉพาะผลมีกลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์: เครื่องเทศ สมุนไพร และไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: เกาะโมลุกกะในมหาสมุทรอินเดีย
แหล่งที่พบ: พบมากทางภาคใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค: ผลแก่แห้ง
การปรุงอาหาร: ทางภาคใต้นิยมรับประทานผลอ่อนเป็นผักเหนาะ และใส่ผลแห้งเพื่อดับกลิ่นคาวในแกงเผ็ด แกงคั่ว นอกจากนี้ยังใช้ในการถนอมอาหารไม่ให้บูดและแต่งกลิ่นผักดอง หรือนำมาป่นเป็นผงผสมปลอมในพริกไทยดำ
ชื่อวงศ์: PIPERACEAE
ชื่อสามัญ: Long Pepper, Indian Long Peppe
ชื่อพื้นเมือง: ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง) พิษพญาไฟ
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เถาดีปลีนั้นมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบเป็นมัน
ดอก ออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็ก กลม ฝังตัวกับช่อดอก
ฝัก/ผล ผลอ่อนสีเขียว อัดแน่นบนแกนช่อ โคนกว้าง ปลายมน รสเผ็ด เมื่อสุกเป็นสีแดง
การขยายพันธุ์: การปักชำ และการเพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ทุกส่วนมีกลิ่น โดยเฉพาะผลมีกลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์: เครื่องเทศ สมุนไพร และไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: เกาะโมลุกกะในมหาสมุทรอินเดีย
แหล่งที่พบ: พบมากทางภาคใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค: ผลแก่แห้ง
การปรุงอาหาร: ทางภาคใต้นิยมรับประทานผลอ่อนเป็นผักเหนาะ และใส่ผลแห้งเพื่อดับกลิ่นคาวในแกงเผ็ด แกงคั่ว นอกจากนี้ยังใช้ในการถนอมอาหารไม่ให้บูดและแต่งกลิ่นผักดอง หรือนำมาป่นเป็นผงผสมปลอมในพริกไทยดำ