ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นจำปาดะ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus champeden
ชื่อภาษาอังกฤษ : Champedak, cempedak, Golden Jackfruit
ชื่ออื่นๆ : จำปาเดาะ
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามแนวยาว มภายในเปลือกมีน้ำยางสีขาวขุ่น โดยจะออกผล ตามลำต้นและตามกิ่ง บริเวณกิ่งอ่อนจะมีขนอ่อนๆ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผนใบรูปรี รูปขอบขนาน ผิวใบเรียบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างค่อนข้างสาก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียวและสั้น ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มีหูใบหุ้มยอด มีขนอ่อนสีขาวปกคลุมยอดอ่อนและหูใบ ใบแก่สีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกแน่น ทรงกลมรี ดอกสีขาวหรือสีเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ ทรงกระบอกออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกเพศเมียออกตามลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่
ผล : ออกตามต้น รูปทรงกระบอกยาว ก้านผลยาว บริเวณก้านผลมีน้ำยางสีขาวขุ่น ผลอ่อนสีเขียว เปลือกจะแข็ง มียางมาก ผลสุกสีเขียวอมเหลือง สีเหลือง มีหนามเป็นตุ่มๆ ไม่แหลม เปลือกนิ่มและมียางน้อยลง เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองและมีกลิ่นหอม และมีรสชาติหวาน
เมล็ด : กลมรี คล้ายเมล็ดขนุน เปลือกหุ้มเมล็ดสีขาวใส เนื้อในสีขาวขุน
การขยายพันธุ์ของต้นจำปาดะ
เพาะเมล็ด ทาบกิ่งหรือติดตา
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นจำปาดะ
- เมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรี หลังคลอดและช่วยบำรุงร่างกาย
- เนื้อผลอ่อน ช่วยฝาดสมาน แก้อาการท้องเสีย
- เนื้อผลสุก เป็นยาระบายอ่อนๆ
- เปลือกไม้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและช่วยรักษาโรคมาลาเรีย
ประโยชน์ของต้นจำปาดะ
- ใบอ่อน ใช้เป็นผักจิ้ม หรือใช้รับประทานร่วมกับส้มตำได้
- แก่นของต้น นำไปต้มใช้ย้อมสีจีวรพระได้ หรือนำไปเป็นสีย้อมในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
- ลำต้น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ทำการเกษตร ฯลฯ
- เมล็ด ใช้ทำอาหารคาว
- ผลสุก นิยมรับประทานสดเป็นผลไม้ และใช้ทำเป็นขนมหวาน