ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นการเวก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys siamensis Miq.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Karawak, climbing ylang-ylang, climbing ilang-ilang, manorangini, hara-champa, kantali champa
ชื่ออื่นๆ : กระดังงัว, กระดังงาป่า,หนามควายนอน,กระดังงาเถา
ลำต้น : เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะเป็นรูปตะขอบริเวณยอดอ่อน ยอดอ่อนสีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาล มีปุ่มตามลำต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ไม่ค่อยผลัดใบ แผ่นใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งทู่ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น แตกใบเป็นทรงพุ่มค่อนข้างหนา
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว ออกบริเวณซอกใบ โคนก้านดอกมีมือเกาะ ดอกเมื่ออ่อนดอกมีสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอมแรงโดยเฉพาะตอนเย็น ออกดอกตลอดปี
ผล : เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปรีทรงกระบอก สีเหลืองเมื่อสุก
การขยายพันธุ์ของต้นการเวก
โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
การดูแลต้นการเวก
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นการเวก
- ดอก ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน
- ใบ เป็นยาขับปัสสาวะ
ประโยชน์ของต้นการเวก
- ดอกใช้ทำน้ำมันหอมระเหยและเครื่องหอมต่างๆ
- นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับภายในอาคารบ้านเรือน สวนสาธารณะ