ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกลึงกล่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia suberosa (Roxb.)Thwaites
ชื่ออื่นๆ : กระทุ่มกลอง, กระทุ่มคลอง, กำจาย, ไคร้น้ำ, จิงกล่อม, ช่องกลอง, ชั่งกลอง, ท้องคลอง, น้ำนอง, น้ำน้อย, ผักจ้ำ, มงจาม, มะจ้ำ
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือม้วนงอขึ้น แผ่นใบเกลี้ยง กิ่งมีช่องระบายอากาศเป็นตุ่มสีเทาอมชมพู
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล : เป็นผลกลุ่ม รูปกลม ผิวเรียบ สีเขียว ผลสุกมีม่วงดำ
เมล็ด : รูปรี สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นกลึงกล่อม
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การดูแลต้นกลึงกล่อม
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกลึงกล่อม
รากและเนื้อไม้ แก้ไข้ ร้อนใน ขับพิษ
ประโยชน์ของต้นกลึงกล่อม
- ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา
- ผลอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผัก
- ผลสุก รับประทานได้