ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกฤษณา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex H. Lecomte
ชื่ออื่นๆ : ไม้หอม
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำ หรือรูปกรวย ลำต้นตรง ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว มีพูพอนที่โคนต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปร่างยาวขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ผิวใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน ส่วนใบอ่อนที่ผลิใหม่มีขนสั้นวาว
ดอก : เป็นช่อออกตามยอดหรือที่ง่ามใบ ดอกสีขาวแถบเขียว
ผล : รูปทรงเกือบกลม เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกครึ่งตามรอยคอดของผล มีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองตามผิวผลหนาแน่น
เมล็ด : กลมรี สีน้ำตาลเข้ม มีหางเมล็ดสีส้ม หรือ สีแดง ปกคลุมไปด้วยขนสั้นนิ่มสีแดงอมน้ำตาล
ชื่อภาษาอังกฤษ : Eagle wood, Agarwood
การขยายพันธุ์ของต้นกฤษณา
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกฤษณา
- เนื้อไม้ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงตับและปอด แก้ลม บำรุงกำลัง แก้ไข้ บำรุงโลหิต รักษาโรคปวดข้อ
- แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ และปอด
- น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง
ประโยชน์ของต้นกฤษณา
- เปลือกต้น ใช้ทำเชือก ถุง ย่าม และกระดาษ
- นำไปใช้ผสมเข้าเครื่องหอมทุกชนิด
- นำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ
- ใช้ทำเป็นยากันยุง
- ทำเป็นเครื่องจักสาน