ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระพี้จั่น ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย ความเชื่อ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana Kurz
ชื่ออื่นๆ : จั่น, ปี้จั่น
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ทรงพุ่มแน่น เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป
ใบ : เป็นใบประกอบขนนก แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม แผ่นใบบางสีเขียวเข้มใต้ใบสีเขียวนวล ยอดอ่อนมีสีแดง
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณกิ่งและปลายกิ่ง ดอกสีม่วงแกมขาวหรือสีชมพูอมม่วง ดอกตูมมีสีน้ำตาลเข้มหรือม่วงดำ
ผล : เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ปลายแหลม ขอบฝักเป็นสันหนาและแข็ง เปลือกหนา ส่วนปลายและกลางกว้างกว่าส่วนโคนฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอมเหลือง
เมล็ด : กลมแบน สีน้ำตาลดำ
การขยายพันธุ์ของต้นกระพี้จั่น
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นกระพี้จั่น
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้งได้ดี
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระพี้จั่น
- เปลือกต้น ใช้ล้างบาดแผลเรื้อรัง
- แก่น บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงธาตุและช่วยเจริญอาหาร
- ลำต้น ต้มดื่มบำรุงเลือด
- ผล มีรสฝาดมัน มีสรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ
ความเชื่อของต้นกระพี้จั่น
เป็นต้นไม้มงคล เนื่องจากได้รับพระราชทานมาจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้กับจังหวักแม่ฮ่องสอน ซึ่งคำว่า จั่น ในภาษาเหนือ แปลว่า เครื่องประดับหรือของที่มีค่า จึงได้รับความนิยมในการปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลและทำให้ชีวิตมีความเจริญ เงินทองไหลมาเทมา
ประโยชน์ของต้นกระพี้จั่น
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน ใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องมือช่าง หรือเครื่องมือการเกษตร ทำเยื่อกระดาษ
- ยอดอ่อน นิยมกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงหรือยำได้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนเพื่อให้ร่มเงา
ข้อเสียของต้นกระพี้จั่น
ปลายฝักแหลมไม่ควรปลูกในสนามเด็กเล่น