ค้นหาสินค้า

กระท้อน

จำหน่ายต้นกระท้อน กล้าและกิ่งพันธุ์กระท้อน สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นกระท้อน

ต้นกระท้อนปุยฝ้าย
ต้นกระท้อนปุยฝ้าย ปทุมธานี

ราคา 2,000.00 บาท /ต้น

ต้นกระท้อนปุยฝ้าย
ต้นกระท้อนปุยฝ้าย เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 25,000.00 บาท /้ต้น

2ต้น ต้น กระท้อนปุยฝ้าย ต้นกระท้อนปุยฝ้าย กระท้อน
2ต้น ต้น กระท้อนปุยฝ้าย ต้นกระท้อนปุยฝ้าย กระท้อน เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 550.00 บาท /ต้น

 ซื้อ 3 แถม 1 ต้นกระท้อนปุ่ยฝ่าย เสียบยอด
ซื้อ 3 แถม 1 ต้นกระท้อนปุ่ยฝ่าย เสียบยอด วังสะพุง เลย

ราคา 160.00 บาท /ต้น

กระท้อนปุยฝ้าย
กระท้อนปุยฝ้าย เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 2,000.00 บาท /ต้น

กระท้อนเขียวหวาน2"
กระท้อนเขียวหวาน2" เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 800.00 บาท /ต้น

กระท้อนปุยฝ้าย ต้นพันธุ์กระท้อนปุยฝ้าย
กระท้อนปุยฝ้าย ต้นพันธุ์กระท้อนปุยฝ้าย ร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช

ราคา 150.00 บาท /ต้น

กระท้อนปุยฝ้าย
กระท้อนปุยฝ้าย องครักษ์ นครนายก

ราคา 1,500.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกระท้อน

นครนายก (1 ร้าน)

นครศรีธรรมราช (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (3 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกระท้อน ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์กระท้อน

ขายเมล็ดกระท้อนปุยฝ้าย
ขายเมล็ดกระท้อนปุยฝ้าย เมืองระยอง ระยอง

ราคา 1.00 บาท /เมล็ด?

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์กระท้อน

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์กระท้อน ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้ากระท้อน

ต้นกระท้อนปุยฝ้าย
ต้นกระท้อนปุยฝ้าย สามพราน นครปฐม

ราคา 150.00 บาท /ต้น

กระท้อนทองกำมะหยี่
กระท้อนทองกำมะหยี่ เพชรบูรณ์

ราคา 160.00 บาท /ต้น

กระท้อนปุยฝ้าย
กระท้อนปุยฝ้าย กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 200.00 บาท /ต้น

กระท้อนปุ้ยฝ้าย
กระท้อนปุ้ยฝ้าย เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 200.00 บาท

กระท้อนทองกำมะหยี่
กระท้อนทองกำมะหยี่ นากลาง หนองบัวลำภู

ราคา 150.00 บาท /ต้น

(5ต้น) ต้น กระท้อนปุยฝ้าย
(5ต้น) ต้น กระท้อนปุยฝ้าย เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 249.00 บาท /ต้น

กระท้อนทองกำมะหยี่ ราคาต้นละ450บาท
กระท้อนทองกำมะหยี่ ราคาต้นละ450บาท บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 450.00 บาท /ต้น?

กระท้อนทองกำมะหยี่
กระท้อนทองกำมะหยี่ ปากพลี นครนายก

ราคา 100.00 บาท /ต้น

กระท้อนปุยฝ้าย
กระท้อนปุยฝ้าย ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

ต้นกระท้อนทองกำมะหยี่
ต้นกระท้อนทองกำมะหยี่ คลองหลวง ปทุมธานี

ราคา 250.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้ากระท้อน

นครนายก (1 ร้าน)

นครปฐม (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (2 ร้าน)

เพชรบูรณ์ (1 ร้าน)

มหาสารคาม (2 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

หนองบัวลำภู (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้ากระท้อน ทั้งหมดในเว็บ

กิ่งพันธุ์กระท้อน

ขายพันธุ์กระท้อนปุยฝ้ายต้นติดตา
ขายพันธุ์กระท้อนปุยฝ้ายต้นติดตา เมืองระยอง ระยอง

ราคา 200.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายกิ่งพันธุ์กระท้อน

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด กิ่งพันธุ์กระท้อน ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape Burm.f. Mer.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Santol, Red sentol, Yellow sentol

ชื่ออื่นๆ : มะต้อง, มะติ๋น

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีเทา มีจุดสีขาวเป็นวงบริเวณลำต้น ผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดออก มียางสีแดงหรือสีน้ำตาล โคนต้นแก่เป็นพูพอน

ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี โคนใบกลมหรือมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นคลื่น มีไขนวลปกคลุม ด้านล่างเส้นใบนูนเด่น ใบมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลือง แล้วค่อยๆ แดง แล้วจะร่วงหล่น ก้านใบมน

ดอก : ออกเป็นช่อตั้งตามปลายกิ่ง ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ

ผล : เป็นผลเดี่ยวแบบผลสด กลมแป้น เปลือกหนา มียางสีขาวเล็กน้อย เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ผิวขรุขระ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม

เมล็ด : กลมรี มีเยื่อหุ้มสีขาวเป็นปุยสีขาวมีรสเปรี้ยวหรือหวาน

กระท้อน

การขยายพันธุ์ของต้นกระท้อน

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง

การดูแลต้นกระท้อน

ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนแล้ง ทนต่อโรคและแมลง เจริญเติบโตปานกลาง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระท้อน

- ใบสด ใช้ขับเหงื่อ แก้ไข้

- เปลือกต้น รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ท้องเสีย

- ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ

- เปลือกลูก เป็นยาสมาน

- ผล แก้บวมและขับพยาธิ

ประโยชน์ของต้นกระท้อน

- ผล รับประทานเป็นผลไม้หรือนำมาทำอาหารคาวหวาน

- ลำต้น ใช้สร้างบ้านหรือทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระท้อน (3775)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Sandoricum koetjape
ชื่อวงศ์:  MELIACEAE
ชื่อสามัญ:  Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol
ชื่อพื้นเมือง:  เตียน ล่อน สะท้อน มะต้อง  มะติ๋น สตียา สะตู สะโต
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
    ใบ  ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว
    ดอก  ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ
    ฝัก/ผล  ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง
    เมล็ด  เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ธันวาคมถึง เดือนมกราคมของทุกปี
การปลูก:  ปลูกแบบสวนยกร่อง และสวนที่ดอน
การขยายพันธุ์: 
    -     การเพาะเมล็ด ทำได้ง่ายแต่มักกลายพันธุ์
    -     การทาบกิ่ง
    -     การเสียบยอด
    -     การติดตา
    -     การตอนกิ่ง ไม่นิยมเพราะออกรากยาก
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    ไม้ใช้สอย
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  แถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร
แหล่งที่พบ:  ทุกภาคทั่วประเทศ
ส่วนที่ใช้บริโภค:  กินได้ทั้งเนื้อที่เป็นปุยสีขาวและเนื้อไต้เปลือกนิยมกินเป็นผลไม้สดจิ้ม พริกกับเกลือ หรือน้ำปลาหวาน ใช้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น แกงกบกระท้อน แกงอ่อมปลาดุก แกงฮังเลกระท้อน แกงคั่วกระท้อน (แทนสับประรด) ผัดเมี่ยง ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว น้ำกระท้อน  กระท้อนดอง กระท้อนในน้ำเชื่อม กระท้อนแช่อิ่ม แยมกระท้อน กระท้อนกวน และเยลลี่กระท้อน เป็นต้น
สรรพคุณทางยา:  
    -    ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
    -    เปลือก รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
    -    ผล ฝาดสมาน เป็นอาหาร
    -    ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้


กระท้อนมีกี่สายพันธุ์ (3776)

สายพันธุ์กระท้อน
1.    พันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสูดเป็นพันธุ์กระท้อนห่อที่มีรสหวาน ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง
2.    ส่วนพันธุ์พื้นเมืองจะมีผลดก ผลมีขนาดเล็ก รสเปรี้ยว จึงนิยมนำมาทำเป็น กระท้อนดอง กระท้อนทรงเครื่อง

กระท้อนที่นิยมปลูกมี 3 พันธุ์ คือ
1.    กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล เป็นกระท้อนที่ให้ผลดก ลักษณะผลกลมแป้นขนาดปานกลาง ผิวเปลือกเรียบ มีสีขาวอมน้ำตาล เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม รสหวานอมเปรี้ยวมีปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัด เมล็ดมีขนาดปานกลาง
2.    กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทองหยิบ ผลใหญ่ทรงกลมแป้น ไม่มีจก ผิวผลเนียนละเอียด เมื่อจับดูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ เนื้อในเป็นปุยสีขาวรสหวานสนิท เก็บผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายน ปลูกมากที่จังหวัดปราจีนบุรี
3.    กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์อีไหว เหตุที่คนสมัยก่อนเรียกชื่ออีล่า เพราะออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น (ล่า แปลว่า ช้า ) อีล่ามีผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆ เมื่อแก่จัดเปลือกนอกจะเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาลอ่อนเปลือกบาง เนื้อเป็นปุยสีขาวนิ่มมาก ปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรีและปราจีนบุรี อีล่าที่มาจากจังหวัดนนทบุรีมีรสหวานสนิท ส่วนที่มาจากจังหวัดปราจีนบุรีมีรสหวานอมเปรี้ยวเก็บผลผลิตช่วงเดือน มิถุนายนถึงกรกฎาคม