ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกรรณิการ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbor-tristis L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Night blooming jasmine, Coral Jasmine, Three of Sadness
ชื่ออื่นๆ : กณิการ์, กรณิการ์
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีขนสากมือ เปลือกต้นสีขาว ผิวหยาบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบและมีขนแข็งตามขอบ แผ่นใบหนา มีขนแข็งตามเส้นใบและแผ่นใบด้านล่าง ก้านใบยาว
ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกยาว มีใบประดับคล้ายใบขนาดเล็ก 1 คู่ ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล : รูปค่อนข้างกลม แบนปลายเป็นติ่งแหลม ผลอ่อนสีเขียวพอแก่แตกอ้าออก
เมล็ด : กลมแบน สีน้ำตาล เมล็ดมีน้ำมัน
การขยายพันธุ์ของต้นกรรณิการ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การดูแลต้นกรรณิการ์
ปลูกได้ในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปริมาณมาก ชอบแสงแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกรรณิการ์
- ต้น แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดข้อ
- ใบ เป็นยาบำรุงน้ำดี เจริญอาหาร แก้ไข้ แก้ปวดข้อ
- ดอก แก้ไข้ และลมวิงเวียน เป็นยาขับประจำเดือน ใช้ขับพยาธิ
- ราก เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นผม แก้ผมหงอก บำรุงผิวหนัง แก้ท้องผูก แก้พรรดึก และแก้ไอ
- เปลือก แก้ปวดศีรษะ
ประโยชน์ของต้นกรรณิการ์
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ดอก ใช้ทำสีย้อมผ้า สีเหลืองอมแสด