ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นตะคร้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garuga pinnata Roxb.
ชื่ออื่นๆ : กะตีบ, แขกเต้า, ค้ำ, หวีด, ปีชะออง, อ้อยน้ำ
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ เรือนยอดของต้น โคนต้นเป็นพูพอน ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมกระจายอยู่ทั่วไป และมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือหลุมตื้นๆ เปลือกด้านในเป็นสีนวลมีทางสีชมพูสลับ และมียางสีชมพูปนแดงไหลออก กระพี้เป็นสีชมพูอ่อนๆ และมีแก่นเป็นสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบเป็นรูปมนรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบสอบหรือหยักเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือมนเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม ส่วนใบแก่จะเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบสั้นมาก ใบแก่จะร่วงก่อนการผลิดอก และจะเริ่มผลิใบใหม่เมื่อดอกเริ่มบาน
ดอก : ออกเป็นช่อใหญ่บริเวณปลายกิ่งหรือส่วนยอดของต้น ดอกเป็นรูประฆัง ดอกมีสีครีม สีเหลือง สีเหลืองอ่อน และสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล : เป็นผลสด รูปทรงกลม อวบน้ำ สีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ของต้นตะคร้ำ
เพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นตะคร้ำ
- ผล เป็นยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกระเพาะอาหาร
- ต้น แก้ตามัว เนื่องจากเยื่อตาอักเสบ
- ใบ รักษาโรคหืด
- เปลือกต้น เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง ใช้ต้มอาบสำหรับสตีหลังคลอด เป็นยาห้ามเลือด ใช้ล้างแผลเรื้อรัง แผลเป็นหนอง ฝี
ประโยชน์ของต้นตะคร้ำ
- ผลสุก ใช้รับประทานได้
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
- ผล ใช้ย้อมตอกให้สีดำ
- ใบ ใช้มัดเสาเอกของเบ้านเพื่อความเป็นศิริมงคลในการช่วยต้ำชู