ค้นหาสินค้า

ดอกจำปี

ขายจำปีราคาถูก มีให้เลือกหลายร้าน

ดอกจำปี

ดอกจำปี
ดอกจำปี วัดโบสถ์ พิษณุโลก

ราคา 500.00 บาท /กิโลกรัม

จังหวัดที่ขายดอกจำปี

พิษณุโลก (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ดอกจำปี ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของจำปี (3546)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Michelia Longifolia
ชื่อวงศ์:  Magnoliaceae
ชื่อสามัญ:  White Chempaka
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  จำปีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นใหญ่สูงกว่าจำปาเล็กน้อย ต้นจะแตกพุ่มยอดใบงามกว่าจำปา คล้ายต้นสน บริเวณที่เปลือกของต้นและกิ่งแก่ จะแตก
    ใบ  เป็นใบเดี่ยว ปลายใบจะแหลม โคนใบมน ขนาดใหญ่ หนา สีเขียวเข้ม
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยว มีสีขาวคล้าย ๆ กับสีของงาช้าง จะมีกลีบอยู่ 8-10 กลีบ ซ้อนกัน กลีบดอกจะเรียวกว่าจำปา ยาวประมาณ 2 นิ้ว ตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ยอดแหลมคล้ายผักข้าวโพดเล็ก ๆ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดจัด  ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  ตอนกิ่ง นิยมมาก
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอก ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ใช้ทำอุบะ ห้อยชายพวงมาลัย และใช้บูชาพระ
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบต้มแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง  ต่อมลูกหมากอักเสบ ขับระดูขาว  
    -    ดอกบำรุงหัวใจ  บำรุงน้ำดี  บำรุงโลหิต


ลักษณะของจำปีช้าง (3547)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Magnolia citrata Noot. & Chalermglin.
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-35 เมตร เปลือกลำต้นหนาและมีกลิ่นฉุน
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรีจนถึงเกือบกลม แผ่นใบหนาและเหนียว กว้าง 12-18 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร ไม่มีรอยแผลบนก้านใบ
    ดอก  ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกมี 9-12 กลีบ ผลกลุ่ม มีผลย่อย 2-8 ผล
    ฝัก/ผล  ผลกลมรียาว 5-7.5 เซนติเมตร เปลือกผลหนามาก ผลขนาดใหญ่ที่สุดในพวกจำปีจำปา
    เมล็ด  เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงมีกลิ่นคล้ายตะไคร้แต่รุนแรงมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกปีละครั้งช่วงเดือน เม.ย.
การดูแลรักษา:  ไม่สามารถปลูกได้ในที่มีน้ำเฉอะแฉะ
การขยายพันธุ์: การทาบกิ่งโดยใช้จำปาเป็นต้นตอ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: เปลือก ดอก และเยื่อหุ้มเมล็ด
ถิ่นกำเนิด:  พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น พบขึ้นตามป่าดิบเขาที่มีอากาศเย็น ระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 1,200 เมต
แหล่งที่พบ:  เชียงใหม่ เลย และน่าน


ลักษณะของจำปีสิรินธร (3548)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Magnolia Sirindhorniae
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับอก 50-200 เซนติเมตร เปลือกโคนต้นสีน้ำตาล หนา 0.5 - 1 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว เปลือกแตกเป็นร่องลึกตามยาว ลำต้นเปลาตรง กิ่งที่อยู่ในระดับสูงมีเปลือกสีขาว กิ่งอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล มีช่องอากาศเป็นจุดหรือขีดนูนกระจาย ทรงพุ่มกลมโปร่ง เนื้อไม่และกิ่งเหนียว
    ใบ  รูปรี กว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 14-20 เซนติเมตร โคนใบมนกลม หรือรูปลิ่ม ปลายใบมนทู่ถึงแหลม ผิวใบด้านบนมีขนเล็กน้อย สีเขียวอมเหลือง มีเส้นกลางใบนูนเล็กน้อย และมีเส้นแขนงใบเป็นร่อง ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขน มีเส้นเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบนูนเด่น เนื้อใบหนา แข็งกรอบ ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบมี 10-12 คู่ ก้านใบยาว 2.5-4.5 เซนติเมตร รอยแแผลเป็นของหูใบแนบโคนก้านใบยาวสองในสาม ของความยาวของก้านใบ
    ดอก  ออกเดี่ยวที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกตูมรูปกระสวย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร กาบหุ้มดอกมี 1 แผ่น สีเขียวอ่อนและมีขนอ่อนๆ คลุมอยู่ กาบฉีกออกและหลุดไปเมื่อกลีบดอกเริ่มแย้ม ก้านดอกยาว 1.8 เซนติเมตร ดอกบานตั้งขึ้น สีขาวนวล กลีบดอกมี 12-15 กลีบ เรียงเป็นชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1.2-1.5 เซนติเมตร ยาว 4.5-5 เซนติเมตร ปลายกลีบมนกลม เมื่อเริ่มแย้มโคนกลีบดอกด้านนอกมีสีเขียวอ่อน กลีบดอกชั้นในมีขนาดแคบและสั้นกว่าเล็กน้อย เริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมตั้งแต่พลบค่ำ ดอกบานอยู่ได้ 2 วัน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเล็กน้อย
    ฝัก/ผล  ผลเป็นช่อยาว 4-6 เซนติเมตร ก้านช่อผลยาว 4 เซนติเมตร มีผลย่อย 15-25 ผล แต่ละผลเรียงติดอยู่บนแกนกลางผลและไม่มีก้านผลย่อย ผลรูปกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ผิวของผลมีช่องอากาศเป็นจุดๆ สีขาว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผลย่อยแตกตามแนวยาว แต่ละผลมี 1-6
    เมล็ด  เมล็ดสีแดงเข้มรูปกลมรี ยาว 4-6 มิลลิเมตร
ฤดูกาลออกดอก:  มิถุนายน ถึง กรกฎาคม
การปลูก:  เพาะเมล็ด ก็จะต้องปลูกในพื้นที่ลุ่ม ดินชื้น แต่ถ้าขยายพันธุ์มาโดยการทาบกิ่ง เสียบยอด หรือติดตา ก็จะต้องปลูกในที่ดอน ดินมีการระบายน้ำดี
การดูแลรักษา:  ต้องปลูกอยู่ในพื้นที่กว้างขวาง
การขยายพันธุ์:  การเพาะเมล็ด การปักชำ  การทาบกิ่ง  การเสียบยอด  การติดตา  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ดอก ร้อยมาลัย
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ไทย
แหล่งที่พบ:  อยู่เฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำหรือในป่าพรุน้ำจืดที่มีน้ำพุไหลผ่านตลอดเวลา


วิธีการขยายพันธุ์จำปีสิรินธร (3549)

-    การเพาะเมล็ด    จากงานวิจัยของฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร วว. ได้มีการทดลองในเรื่องการงอกของเมล็ดจำปีสิรินธร พบว่า เมล็ดที่เก็บจากโคนต้นจะมีอัตราการงอกต่ำ และมีต้นกล้าที่ไม่ค่อยจะแข็งแรง แต่เมล็ดที่ได้จากผลแก่ที่เก็บจากบนต้น จะมีอัตราการงอกสูง และมีต้นกล้าที่แข็งแรงกว่า ดังนั้น คำแนะนำในการเพาะเมล็ดจำปีสิรินธร จึงเริ่มตั้งแต่ การเลือกเก็บผลแก่ที่มีสีเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีผลย่อยที่อยู่โคนช่อผลแตกเป็นช่อเล็กๆ เพียง 1-2 ผล และยังไม่ร่วงหล่นจากต้น ให้นำผลแก่นี้มาผึ่งไว้ที่ร่ม 2-3 วัน รอยแตกจะกว้างขึ้น แล้วมีเมล็ดหลุดออกมา นำเมล็ดมาแช่น้ำเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีการเปลี่ยนน้ำทุก 12 ชั่วโมง แล้วบี้เอาเปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงออกทิ้งไป จะเห็นแต่เมล็ดในสีดำและแข็ง นำเมล็ดมาเพาะรวมกันในกระบะทราย แล้วราดด้วยยากันรา และคลุมป้องกันความชื้นด้วยถงพลาสติก (เพื่อไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดช่วงเวลาการเพาะเมล็ด) ในเวลา 1 เดือน ก็เริ่มงอก เมื่อใบเลี้ยงคู่แรกคลี่กางดี จึงแยกนำลงปลูกในถงเพาะชำ และตั้งไว้ในเรือนเพาะชำ จนมีอายุ 1 ปี จะมีความสูง 30-40 เซนติเมตร และมีใบจำนวน 8-10 ใบ จึงนำออกมาตั้งกลางแจ้งเพื่อให้ปรับตัว ก่อนนำไปปลูกลงแปลงกลางแจ้ง ข้อดีของวิธีการขยายพันธุ์แบบนี้คือ ได้ต้นกล้าที่มีระบบรากแข็งแรง เจริญเติบโต ต้นไม่ค่อยล้ม เมื่อเป็นต้นใหญ่แล้วจะมีทรงพุ่มแผ่กว้างสวยงาม  แต่จะออกดอกได้ช้า ในการปลูกต้นจำปีสิรินธรโดยวิธีการเพาะเมล็ดต่อไปเรื่อยๆ ก็มีโอกาสที่จะได้ต้นจำปีสิรินธรที่มีความแปรผัน แตกต่างไปจากต้นแม่พันธุ์เดิม หรือได้ต้นที่มีความเหมือนกับต้นแม่พันธุ์เดิมได้  เนื่องจากเป็นการขยายพันธุ์แบบใช้เพศที่มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
-    การปักชำ    จัดเป็นวิธีการขยายพันธุ์จำปีสิรินธรที่ง่ายและรวดเร็วอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะได้ต้นกล้าที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่พันธุ์อีกด้วย  โดยการตัดปลายกิ่งให้มีความยาว 20-30 เซนติเมตร ริดใบที่โคนกิ่งออก แช่ในน้ำยากระตุ้นราก แล้วนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง เป็นเวลา 3-4 เดือน ก็จะออกราก แยกนำไปปลูกในถุงเพาะชำ จนตั้งตัวและเจริญเติบโตได้ดี จึงนำออกมาปลูกกลางแจ้งได้ สำหรับเทคนิคในการปักชำนี้ก็คือ ถ้ามีการปักชำจากกิ่งที่เคยออกดอกมาแล้ว เมื่อนำไปปลูกก็จะออกดอกได้ง่าย ในทางตรงกันข้าม ถ้าปักชำจากกิ่งที่ได้จากต้นกล้าขนาดเล็ก หรือกิ่งที่ยังไม่เคยออกดอกมาก่อน เมื่อนำไปปลูกแล้วจะออกดอกได้ช้า และเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่ากิ่งปักชำอ่อนๆ จะออกรากได้ง่ายกว่างกิ่งปักชำแก่ๆ
-    การทาบกิ่ง     ควรใช้ต้นตอที่หาเมล็ดได้ง่าย ต้นตอมีความทนทาน เจริญเติบโตเร็ว เช่น จำปา จำปีป่า จำปาป่า จำปีหลวง ต้นตอมีอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี มีความสูงประมาณ 50-80 เซนเติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร วิธีการทาบก็ใช้การปาดข้างทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้ยาว 5-8 เซนติเมตร นำมาประกบกันและพันด้วยเทปพลาสติก ควรผูกโยงต้นตอกับคานหรือกิ่งด้านบน เพื่อป้องกันกิ่งฉีก ในเวลา 1 เดือน ก็สามารถตัดนำมาปลูกชำได้ สำหรับเทคนิคในการทบกิ่งจำปีสิรินธร ก็คืด การปาดกิ่งต้นตอนั้นจะต้องปาดให้เหลือส่วนของยอดไว้ด้วย ไม่ใช่ปาดให้ขาดเหมือนกับทาบมะม่วง เมื่อทาบแล้ว 20 วัน ก็ตัดส่วนยอดของต้นตอทิ้งได้ และก่อนจะตัดกิ่งทาบไปปลูกชำ ควรเตือนกิ่งทาบด้วยการควั่นรอบกิ่งของโคนกิ่งพันธุ์ 1 สัปดาห์แล้ว จึงตัดกิ่งทาบออก กิ่งทาบจะปรับตัวหันไปดูดน้ำจากต้นตอ เป็นการกระตุ้นให้รากของต้นตอทำงานได้ดีขึ้น ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ก็คือจะได้ต้นกล้าที่มีลักษณะตรงตามแม่พันธุ์ แต่จะออกดอกได้เร็วหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าไปทาบมาจากกิ่งที่เคยออกดอกมาแล้วหรือยัง หากทาบจากกิ่งที่เคยออกดอกมาแล้ว เมื่อนำไปปลูกแล้วก็จะออกดอกได้เร็ว แต่ถ้าทาบกิ่งมาจากต้นขนาดเล็ก หรืกิ่งที่ยังไม่เคยออกดอกมาก่อน เมื่อนำไปปลูกแล้วก็จะออกดอกได้ช้า
-    การเสียบยอด   เป็นการขยายพันธุ์ที่จะได้กิ่งยอดตรงตามลักษณะของแม่พันธุ์ ใช้ได้กับต้นตอทั้งที่มีขนาดเล็กและมีขนาดใหญ่ สำหรับต้นตอที่มีขนาดเล็ก ควรใช้ต้นตอที่หาเมล็ดได้ง่าย ต้นตอมีความทนทาน เจริญเติบโตเร็ว เช่น จำปา จำปาป่า จำปีป่า จำปีหลวง ต้นตอควรมีอายุ มากกว่า 6 เดือน ซึ่งจะมีความสูงมากกว่า 50 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร วิธีการเสียบยอด โดยการปาดโคนต้นตอลงมา 5-6 เซนติเมตร ให้ลึกในระดับเปลือกแล้วเฉือนเอียงเป็นมุมประมาณ 45 องศา แล้วปาดกิ่งพันธุ์ให้มีแผลยาวเท่ากับต้นตอ โดยกิ่งพันธุ์นี้จะมีตาข้างอยู่เพียง 1 ตา นำกิ่งพันธุ์เข้าเสียบกับต้นตอ พันด้วยเทปพลาสติกให้มิด กันไม่ให้น้ำเข้าได้ ประมาณ 3 สัปดาห์ ตาของกิ่งพันธุ์จะเริ่มแตกออกมา จึงใช้มีดคมๆ เฉือนเทปพลาสติก ให้ยอดแทงออกมา พร้อมทั้งตัดยอดของต้นตอออก ตาของกิ่งพันธุ์ก็จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อนำไปปลูกให้พักตัวในเรือนเพาะชำระยะหนึ่ง ก็สามารถนำออกปลูกได้ สำหรับการเสียบยอดกับต้นตอที่มีขนาดใหญ่ จะแตกตาและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมในหมู่เกษตรกรเป็นอย่างมาก  เนื่องจากจะเพิ่มจำนวนยอดพันธุ์ได้เป็นจำนวนมากในเวลารวดเร็ว ยอดพันธุ์จะอวบอ้วนสมบูรณ์ นำไปขยายพันธุ์ต่อได้ดี เกษตรกรมักเรียกการเสียบยอดกับต้นตอที่มีขนาดใหญ่นี้ว่า การฝากยอด ซึ่งมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการขยายพันธุ์แบบนี้คือ สามารถนำยอดที่อยู่ไกลๆ มาเสียบได้ โดยการตัดยอดพันธุ์แล้วพรมน้ำ นำใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้ได้ถึง 1 สัปดาห์
-    การติดตา   ก็เป็นการขยายพันธุ์ที่จะได้กิ่งยอดที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์อีกวิธีหนึ่ง ใช้ได้กับต้นตอทั้งที่มีขนาดเล็กและมีขนาดใหญ่ สำหรับต้นตอก็ใช้ประเภทและขนาดเหมือนกับวิธีการขยายพันธุ์แบบเสียบยอด สำหรับวิธีการติดตาให้เปิดเปลือกของต้นตอเป็นรูปตัว  U คว่ำ หรือ ตัว T แล้วแบะเปลือกออก เฉือนตาของกิ่งพันธุ์เป็นรุปโล่ห์พร้อมทั้งแกะเอาเนื้อไม้ที่ติดมาออก นำตาเสียบเข้ากับต้นตอ พันด้วยเทปพลาสติกใสให้มิด กันไม่ให้น้ำเข้าได้ ประมาณ 3 สัปดาห์ ตาของกิ่งพันธุ์จะเริ่มแตกออกมา จึงใช้มีดคมๆ เฉือนเทปพลาสติกให้ยอดแทงออกมา พร้อมทั้งตัดยอดของต้นตอออก ตาของกิ่งพันธุ์ก็จะโตอย่างรวดเร็ว เมื่อนำไปปลูกให้พักตัวในเรือนเพาะชำระยะหนึ่ง ก็สามารถนำออกปลูกได้ สำหรับการติดตากับต้นตอที่มีขนาดใหญ่ จะมีวิธีการเหมือนกับต้นตอขนาดเล็ก แต่จะแตกตาและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ข้อดีของการขยายพันธุ์แบบติดตาคือจะได้จำนวนต้นกล้าเท่ากับจำนวนตาที่มีอยู่ จึงถือว่าเป็นวิธีการที่จะได้ต้นกล้าจำนวนมากในเวลารวดเร็วในอีกวิธีหนึ่ง
-    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  เป็นวิธีการที่ได้ต้นกล้าจำนวนมากในเวลารวดเร็ว แต่ต้นกล้าจะมีขนาดเล็กและใช้เวลาในการปลูกเลี้ยงและบำรุงรักษาเป็นเวลานาน สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของจำปีสิรินธร โดยการนำยอดอ่อนขนาดเล็กมาเลี้ยงในวุ้น ซึ่งเป็นอาหารปลอดเชื้อ ในการขยายพันธุ์โดยวิธีการนี้พบว่า ต้นกล้ายังพัฒนาระบบรากได้ไม่ดีนัก

ลักษณะของจำปีศรีเมืองไทย (3550)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Magnolia thailandica Noot. & Chalermglin
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ทรงพุ่มสวย ลำต้นสูง 20-30 เซนติเมต
    ดอก  ดอกเดี่ยวขนาดจิ๋ว ลักษณะดอกตูมรูปไข่ ปลายแหลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.6 เซนติเมตร ยาว 2-2.5 เซนติเมตร ออกที่ปลายยอด มีกลีบสีขาว หนา ดอกจะแยกเพศ เป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย
ฤดูกาลออกดอก:  เม.ย.-พ.ค.เท่านั้น โดยจะบานอยู่ได้ 1-2 วัน
การขยายพันธุ์:  การเสียบยอด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกมีกลิ่นหอมแรง
ถิ่นกำเนิด:  ไทย
แหล่งที่พบ:  เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ และกาญจนบุรี ขึ้นเฉพาะป่าดิบเขา ในพื้นที่สูงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศา

*ต้นจำปีศรีเมืองไทยจัดว่ามีความดึกดำบรรพ์ที่สุด โดยยึดหลักฐานจากการค้นพบจากฟอสซิล พันธุ์ไม้ในวงศ์จำปาที่ขุดได้พร้อมกับซากไดโนเสาร์ในเมืองจีน
**เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำที่สุดในตระกูลไม้วงศ์จำปา เนื่องจากมีดอกแยกเพศและมีต้นแยกเพศ ซึ่งลักษณะดังกล่าวไม่พบในพืชดอกปัจจุบัน ทำให้เป็นพืชเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมาก เพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้


ลักษณะของจำปีสีนวล (3551)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Michelia champaca x M. Alba หรือ Michelia Hybrid
ชื่อวงศ์:  Magnoliaceae
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง กิ่งมีขนสีเทา ทรงพุ่มและเรือนยอดมีลักษณะคล้ายจำปี
    ใบ  เดี่ยวเรียงเวียน  หูใบยาวถึง 2.5 เซนติเมตร มีขน ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ถึงแกมขอบขนาน  ขนาดกว้าง 5.5-16 เซนติเมตร  ยาว 15.35 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม  ยาว 3 เซนติเมตร โคนใบสอบเรียว ก้านดอกย่อย ยาว 0-2 เซนติเมตร
    ดอก  ดอกมีจำนวนมาก สีขาว  มีกลิ่นหอม กลีบรวม มี 12 กลีบ (อาจพบมี 8 กลีบ) รูปขอบขนาน ปลายแหลมขนาดใกล้เคียงกัน ยาว 3-3.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก 20-32 อัน เกสรเพศเมีย ก้านชูเกสร ยาว 0.5 เซนติเมตร  รังไข่มี 10-13 อัน (อาจมี 4 อัน) แยกกัน ผิวเกลี้ยงหรือมีขนสีน้ำตาล
    ฝัก/ผล  ไม่ติดผล
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตที่ดีในดินทุกประเภท ชอบแดด สามารถปลูกได้ที่บริเวณที่โดนแดด ได้ตลอดวัน
การขยายพันธุ์:  ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    เป็นไม้ประดับ
    -    ใช้ดอกบูชาพระร้อยอุบะ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ไม่ทราบแหล่งกำเนิดในธรรมชาติ   แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจกำเนิดในมาเลเซียหรือชวา
แหล่งที่พบ:  ปลูกทั่วไปตามบริเวณบ้า
สรรพคุณทางยา:  ดอกแก้เป็นลม แก้ไข บำรุงหัวใจ ขับน้ำดี บำรุงโลหิต
*เป็นลูกผสมระหว่างจำปีและจำปา


ลักษณะของจำปีดอย (3553)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Magnolia  gustavii King.
ชื่อวงศ์:  MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ:  Champi Doi
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  มีลำต้นขนาดเล็ก  สูง  8-12  เมตร  เปลือก  ลำต้นสีเทาปนน้ำตาล  หนาและมีกลิ่นฉุน
    ใบ  ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก  ยาว  12-16  เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม  มีติ่งปลายใบยาวและงุ้มลง  แผ่นใบหนาและแข็ง  ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน  ด้านล่างเคลือบขาว
    ดอก  ดอกเดี่ยว  ออกที่ปลายยอดห้อยลง  ก้านดอกเรียวยาว 3-4  เซนติเมตร  กลีบดอกสีขาวนวล มี 9  กลีบ  ยาว 3-3.5  เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ทรงกระบอกเรียวยาว 6-8 เซนติเมตร มีผลย่อย 3-15 ผล แต่ละผลมี 2 เมล็ด
แหล่งที่พบ:  เพชรบุรี
*พบโดย  นายปิยะ  เฉลิมกลิ่น


ลักษณะของจำปีหนู (3554)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Magnolia  compressa Maxim.
ชื่อวงศ์:  MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ:  Champi Nu
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  มีลำต้นขนาดเล็ก สูง 8-12 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนดำเนื้อไม้แข็งและเหนียว  แตกกิ่งยอดจำนวนมากและมีขนาดเล็ก  มีขนาดใบเล็กที่สุดในสกุลจำปาด้วยกัน
    ใบ  ใบรูปหอกแกมรูปขอบขนานยาว  7-11  เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลมและมีติ่งปลายใบยาว  เนื้อใบหนาเหนียวเป็นมันทั้งสองด้าน
    ดอก  มีขนาดเล็ก กลีบดอกบาง สีขาวขุ่น มี 9 กลีบ ยาว 3-4 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  เป็นช่อยาว 2-3 เซนติเมตร มีผลย่อย 2-4 ผล แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
แหล่งที่พบ:  เลย
*พบโดย  นายปิยะ  เฉลิมกลิ่น


ลักษณะของจำปีเพชร (3555)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Magnolia  mediocris (Dandy) Figlar.
ชื่อวงศ์:  MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ:  Champi Phet
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  มีลำต้นใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง  เปลือกลำต้นหนา  สีเทาปนขาว
    ใบ  ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน  ยาว  8-14  เซนติเมตร  ปลายใบเรียวและ  มีติ่งแหลม  เนื้อใบหนาแข็งกรอบ  ก้านใบไม่มีรอยแผลของหูใบ
    ดอก  ดอกเดี่ยว  ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด  กลีบดอกสีขาวนวลมี9-10 กลีบ ยาว 3.5 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  เป็นช่อยาว 2-3.5 เซนติเมตร  มีผลย่อย 3-6 ผล แต่ละผลมี 1-3 เมล็ด
แหล่งที่พบ:  เพชรบุรี
*พบโดย  นายปิยะ  เฉลิมกลิ่น