ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นขลู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (L.) Less.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Indiad marsh fleabane
ชื่ออื่นๆ : หนวดงิ้ว, หนวดงั่ว, หนวดวัว, หนาดงัว
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายใบมน หรือกลม ฐานใบสอบเรียวขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย มีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบสั้นมาก ใบสีเขียว มีกลิ่นหอมฉุน
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง รูปกลม ดอกสีม่วงอ่อน
ผล : เป็นผลแห้ง รูปทรงกระบอก ผลเป็นสัน มีขนาดเล็กมาก มีรยางค์ไม่มาก สีขาว
เมล็ด : ะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นขลู่
- เปลือก รักษาอาการริดสีดวง แก้ริดสีดวงจมูก แก้กระษัย เป็นยาอายุวัฒนะ
- ใบ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว
- ใบและต้นอ่อน ใช้บรรเทาอาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม หรือต้มอาบรักษาหิด ขี้เรื้อน
- ใบและราก รักษาไข้ หรือพอกแก้แผลอักเสบ ขับเหงื่อ
- ดอก แก้โรคนิ่ว
- ราก แก้กระษัย แก้โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ เป็นยาอายุวัฒนะ
- ทั้งต้น แก้ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ริดสีดวงจมูก แก้กระษัยกล่อน เป็นยาช่วยย่อย แก้วัณโรค
ประโยชน์ของต้นขลู่
- ยอด ใช้รับประทานเป็นผักสดมีรสมัน
- ใบแห้ง ชงดื่มแทนชา มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง