ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นโมกแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia dubia (Sims) Spreng
ชื่ออื่นๆ : จำปูน, มุ, มูก, มูกมัน, โมกป่า, โมกมัน, โมกราตรี
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม เปลือกสีน้ำตาล ลำต้นมีรอยขีดสีขาวตามยาว แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มโปร่ง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีขนบริเวณเส้นใบ
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีส้ม ชมพู ถึงสีแดง ทรงระฆังคว่ำ ห้อยลง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล : เป็นฝักคู่ ทรงกระบอก เรียวยาว ผลอ่อนสีเขียว เกลี้ยง
เมล็ด : ค่อนข้างแบน สีน้ำตาล มีพู่ขนที่ปลายด้านหนึ่ง
การขยายพันธุ์ของต้นโมกแดง
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง แยกหน่อ
การดูแลต้นโมกแดง
ปลูกได้ในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นโมกแดง
- ราก แก้บิด
- ใบ แก้ไข้ แก้ร้อนใน
- ผล เป็นยาขับระบบไหลเวียนโลหิต
- เปลือก เป็นยาขับระบบหมุนเวียนใลหิต
ประโยชน์ของต้นโมกแดง
- ยอดใช้เป็นผักสด นำมาใส่แกงได้
- ปลูกเป็นไม้ประดับ