ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นแสงจันทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pisonia grandis R. Br.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cabbage Tree, Gatae, Lettuce tree, moonlight tree, Pisonia, Puatea, Mollucean Cabbage, Nachukottaikeerai, Chinai-Salit
ชื่ออื่นๆ : บานดึก, ดอกพระจันทร์, แสงนวลจันทร์
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ ผิวเปลือกลําต้นสีขาวเทา ผิวลําต้นเรียบ และอวบน้ำ ลําต้นและกิ่งเจริญออกไปรอบต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีถึงรูปใบหอกกว้าง ใบอ่อนสีเหลืองนวลถึงสีเหลืองอมเขียวสดแบแก้สีเขียวอ่อน ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ออกตามข้อของกิ่ง เนื้อใบมองเห็นเส้นใบได้ชัด ใบบางนิ่ม
ดอก : ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อบาน ดอกตูมสีเขียวอ่อน
การขยายพันธุ์ของต้นแสงจันทร์
ปักชำ ตอนกิ่ง
การดูแลต้นแสงจันทร์
ปลูกได้ในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร-แดดจัด เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง
ข้อเสียของต้นแสงจันทร์
มักพบเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย ทำให้ใบเหลือง เหี่ยว และร่วงในที่สุด ควรหมั่นตัดแต่งและพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงใต้พุ่มใบอยู่เสมอ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นแสงจันทร์
ใบ ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้อักเสบ ฟกบวม
ความเชื่อของต้นแสงจันทร์
คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าหากปลูกในบ้าน จะช่วยส่งเสริมให้บ้านแลดูสว่างไสว งดงาม มีแต่สิ่งดีงาม ดูจมีดวงไฟส่องนำทางให้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน และทำให้คนในบ้านมีอุปนิสัย สุขุม เรียบร้อย อ่อนโยน มีเสน่ห์ และเป็นมงคลกับชีวิต ควรปลูกต้นแสงจันทร์ไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ให้ปลูกวันอังคาร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
ประโยชน์ของต้นแสงจันทร์
- ยอดอ่อน ใบอ่อน นำมาประกอบอาหาร
- นิยมปลูกประดับสถานที่