ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเกาลัดไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia monosperma Vent.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Chestnut
ชื่ออื่นๆ : เกาลัดเทียม, เกาลัดเมือง, บ่าเกาลัด
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น กิ่งอ่อนเกลี้ยง มีรอยแผลใบอยู่ทั่วไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยว อยู่ที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปลายมนสอบแคบกว่าทางโคนใบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง ย่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนเป็นมัน
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลง ดอกสีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล : ออกเป็นกลุ่ม ผลสีแดงหรือสีแสด รูปมนหรือค่อนข้างกลม เปลือกแข็ง มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ปลายผลมักเป็นจะงอยโค้งเล็กน้อย
เมล็ด : สีน้ำตาล ผิวเกลี้ยง เนื้อในสีขาวหรือเหลืองอ่อน
การขยายพันธุ์ของต้นเกาลัดไทย
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นเกาลัดไทย
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
ประโยชน์ของต้นเกาลัดไทย
- ปลูกเพื่อกินเมล็ด นำเมล็ดไปต้มหรือคั่วให้สุกต้มรับประทานเป็นของขบเคี้ยวแบบเกาลัดจีน
- ปลูกเป็นไม้ประดับตามสวน
- เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้