ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นสำมะงา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volkameria inermis Linn.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Garden quinine, Seaside clerdendron, Petit Fever Leaves
ชื่ออื่นๆ : สำมะนา, สำมะลีงา, เขี้ยวงู, ส้มเนรา
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มกึ่งเถา กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปรี โคนใบมน หรือ แหลมเล็กน้อย ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบแผ่นใบบางนิ่ม ผิวใบมีสีเขียวและเป็นมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็นเขียว ก้านใบเป็นสีม่วงแดง
ดอก : ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบ และที่ปลายยอด ดอกสีขาว
ผล : ผลเดี่ยวรูปทรงกลม หรือ รูปไข่กลับ ตรงกับผล มีรอยหยักแบ่งเป็นพู 4 พู ผิวผลเรียบเป็นมันลื่น เนื้อผลนิ่ม ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วผลจะเป็นสีน้ำเงินหรือสีดำ และเมื่อผลแก่จะแห้งและแตกออก
เมล็ด : แข็ง
การขยายพันธุ์ของต้นสำมะงา
เพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ
การดูแลต้นสำมะงา
ต้องการน้ำมาก ชอบแดดเต็มวัน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นสำมะงา
- ราก แก้ไข้หวัด แก้อาการปวดกระเพาะ แก้ตับอักเสบ ม้ามโต แก้อาการปวดข้อ รักษาไขข้ออักเสบ แก้อาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
- ใบ รักษาโรคมาลาเรีย เป็นยาฆ่าพยาธิ ช่วยห้ามเลือดและสมานแผลสด และรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลฟกช้ำดำเขียวบวม รักษาโรคผิวหนัง
- ทั้งต้น รักษาโรคผิวหนังพุพองและน้ำเหลืองเสีย