ค้นหาสินค้า

พุดกุหลาบ

ต้นพุดกุหลาบ

ต้นพุดกุหลาบ
ต้นพุดกุหลาบ ปราจีนบุรี

ราคา 5,000.00 บาท /ต้น

ต้นพุดกุหลาบ
ต้นพุดกุหลาบ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 3,500.00 บาท /ต้น

ต้นพุดกุหลาบ
ต้นพุดกุหลาบ ปราจีนบุรี

ราคา 3,500.00 บาท /ต้น

ต้นพุดกุหลาบ สุง1.5เมตร
ต้นพุดกุหลาบ สุง1.5เมตร องครักษ์ นครนายก

ราคา 400.00 บาท /ต้น

ต้นพุดกุหลาบ
ต้นพุดกุหลาบ สระบุรี

ราคา 4,000.00 บาท /บาท

ต้นพุดกุหลาบด่าง
ต้นพุดกุหลาบด่าง บางใหญ่ นนทบุรี

ราคา 6,500.00 บาท /ต้น

ต้นพุดกุหลาบ
ต้นพุดกุหลาบ ปราจีนบุรี

ราคา 1.00 บาท /1

ต้นพุดกุหลาบ สวนป้าแตง
ต้นพุดกุหลาบ สวนป้าแตง นครนายก

ราคา 5,000.00 บาท /ต้น

ต้นพุดกุหลาบ 2.8 เมตร
ต้นพุดกุหลาบ 2.8 เมตร สันกำแพง เชียงใหม่

ราคา 4,500.00 บาท /ต้น

พุดกุหลาบ
พุดกุหลาบ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 1.00 บาท /ต้น

พุดกุหลาบ
พุดกุหลาบ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

พุดกุหลาบ
พุดกุหลาบ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

พุดกุหลาบ 3 นิ้ว ฟอร์มใหญ่สวย
พุดกุหลาบ 3 นิ้ว ฟอร์มใหญ่สวย เมืองนครนายก นครนายก

ราคา 2,000.00 บาท /ต้น

พุดกุหลาบ
พุดกุหลาบ ประจันตคาม ปราจีนบุรี

ราคา 4,000.00 บาท /ต้น

พุดกุหลาบ
พุดกุหลาบ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นพุดกุหลาบ

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

นครนายก (3 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (9 ร้าน)

สระบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นพุดกุหลาบ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพุดกุหลาบ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์พุดกุหลาบ : Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult.

ชื่อภาษาอังกฤษพุดกุหลาบ : Crepe jasmine, Clavel De La India, East Indian rosebay, Pinwheel flower

ชื่ออื่นๆ : พุดจีบ, พุดสวน, พุดลา, พุดป่า, พุดซ้อน

ลำต้นพุดกุหลาบ : เป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มกลมแน่น ค่อนข้างหนาทึบ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว

ใบพุดกุหลาบ : เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก ปลายและโคนแหลม ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อนกว่า

ดอกพุดกุหลาบ : ออกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบซ้อนกันหลายชั้น ชั้นละ 5 แฉก กลีบย่นเป็นจีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลิ่นหอมแรงตอนเย็นถึงเช้า ออกดอกตลอดปี

ผลพุดกุหลาบ : เป็นฝัก

พุดกุหลาบ

การขยายพันธุ์ของต้นพุดกุหลาบ

โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

การดูแลต้นพุดกุหลาบ

ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลาง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพุดกุหลาบ

- ใบตำ พอกแก้ปวดศีรษะ แก้เคล็ดขัดยอก

- ดอก คั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง

ประโยชน์ของต้นพุดกุหลาบ

- ปลูกประดับสวน หรือเป็นไม้กระถาง ปลูกบริเวณริมรั้วให้เป็นร่มเงาสวยงาม

- ดอกใช้ปักแจกันไหว้พระ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพุดซ้อน (3615)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Gardenia angusta (L.) Merr.
ชื่อวงศ์:  Rubiaceae
ชื่อสามัญ:  Cape jasmine, Gardenia jasmine
ชื่อพื้นเมือง:  พุดจีน พุดใหญ่ อินถะหวา เค็ดถวา แคถวา ซัวอึ้งกี่ จุยเจียฮวย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม  ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลดำ
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม.
    ฝัก/ผล  มีทั้งผลสั้นและยาว  รูปไข่ถึงรูปแกมรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีเหลือง ส้ม เมล็ดจำนวนมาก ผลแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก
    เมล็ด  จำนวนเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเพื่อบังสายตา
การดูแลรักษา:  เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก กลิ่นหอมแรง
การใช้ประโยชน์:
    -    นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ
    -     เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม
    -    ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น
แหล่งที่พบ:  มีอยู่มากทางภาคเหนือ
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบ ตำพอกแก้ปวดศีรษะ  แก้เคล็ดขัดยอก
    -     ดอก คั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง
    -    ราก  แก้ไข้
    -    เปลือกต้น  แก้บิด


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพุดพิชญา (3617)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Wringhtia antidysenterica R.Br.
ชื่อวงศ์:  Apocynaceae
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก กิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดง
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร  ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้างล่างสีเขียวอ่อน
    ดอก  สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนปนเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตรงกลางสีเหลือง มีรยางค์เป็นแผ่นรูปแถบเเข็งคล้ายขี้ผึ้ง ปลายแยกเป็นริ้ว 2-5 ริ้ว ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกลงกระถางเป็นไม้ประดับ เหมาะกับสวนทั่วไป สวนไทย หรือสวนป่า
การดูแลรักษา:  ดินร่วนระบายน้ำได้ดี แดดเต็มวัน
การขยายพันธุ์:  การตอนกิ่ง การปักชำ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพุดสามสี (3618)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Brunfelsia australis Benth.
ชื่อวงศ์:  Solanaceae
ชื่อสามัญ:  Yesterday today and tomorrow, Morning noon and night
ชื่อพื้นเมือง:  พุดสี พุทธชาดม่วง พุทธชาติสามสี สามราศี พุดสองสี
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ ใบรูปรี กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ปลายใบเเหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวอมเหลือง เส้นใบและเส้นกลางใบสีเหลือง
    ดอก  สีฟ้าอมม่วงแล้วค่อยๆจางเป็นสีขาวในวันต่อๆมา  มีกลิ่นหอม   ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายของกลีบดอกเป็นหยักลอนเล็กน้อย ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตก ทรงกลมหรือรูปรี ขนาด 1-2 เซนติเมตร
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นพุ่ม เหมาะกับสวนไทย สวนป่า
การดูแลรักษา:  ดินร่วนระบายน้ำได้ดี แดดเต็มวัน-ปานกลาง
การขยายพันธุ์:  การปักชำ  การตอน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก กลิ่นหอมทั้งวันทั้งคืน หอมมากช่วงพลบค่ำ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศอเมริกาเขตร้อนและหมู่เกาะอินดีส


พุดเป็นไม้มงคล (3902)

คนไทยเชื่อกันมาแต่โบราณว่า พุดเป็นพรรณไม้นำโชคชัยและความสำเร็จ ผู้ปลูกพุดจะพบกับความลุล่วงสำเร็จ ใครๆ หรือศัตรูใดไม่สามารถทำอะไรได้ พุดช่วยให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งพุดยังเสริมสร้างอำนาจบารมี เสริมฤทธิ์เดช

หากต้องการเพิ่มฤทธิ์มงคล ควรปลูกพุดในวันเสาร์ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาบริเวณบ้าน หากให้ชายที่มีชื่อมงคลปลูกจะได้ผลดีมาก