ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกำยาน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Styrax benzoin Dryand.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Benzoin
ชื่ออื่นๆ : กะมะแย, กำยานญวน, กำยานสุมาตรา, เกลือตานตุ่น, ชาติสมิง, กำหยาน, กำยานไทย, กำยานต้น
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเทา หรือ สีหม่น ตามกิ่งก้านมีปุ่มหูดรูปเคียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปใบหอกยาวเรียว โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนามีขนสีขาวขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาว
ดอก : ออกเป็นช่อบริเวณง่ามใบ หรือปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาว แต้มชมพู หรือ แดง
ผล : เป็นผลแห้ง ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน รูปทรงค่อนข้างกลม หรือ ออกแป้น เปลือกผลแข็ง ผิวผลมีขนสีขาวปกคลุมประปราย ผลโตเต็มที่เป็นสีน้ำตาล
เมล็ด : กลม
การขยายพันธุ์ของต้นกำยาน
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นกำยาน
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้งได้ดี ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกำยาน
- ยาง ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อ ยาบำรุงหัวใจ แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเชื้อรา แก้อาการคัน เป็นยาสมานแผล แก้โรคชักกะตุกในเด็ก
- ลำต้น แก้ตกขาว
- แก่นหรือเปลือกต้น รักษาโรคไตพิการ
- เปลือกต้น แก้ไข้ ระงับปวด ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงประสาท
- ราก แก้ไข้มาลาเรีย
ความเชื่อของต้นกำยาน
การจุดกำยานถวายในพิธีการเป็นการถวายต่อจิตศักดิ์สิทธิ์ ทั้งพระพุทธเจ้า เทพเจ้า ครูอาจารย์ อีกทั้งยังชำระล้างจิตวิญญาณที่ไม่ดีของพื้นที่และจิตใจของผู้ปฏิบัติทางจิตให้มีความสะอาดบริสุทธิ์
ประโยชน์ของต้นกำยาน
- ยาง ช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุง ไล่ริ้นไร มดและแมลงได้
- เป็นยากันบูด
- ใช้ปรุงน้ำอบไทย เป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ ธูปหอม เครื่องหอมอื่น ๆ และยังใช้ทำเครื่องสำอาง
- ช่วยบำบัดรักษาสุขภาพด้วยกลิ่นหอม ช่วยลดความเครียด ผ่อนคลายความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น
- เนื้อไม้ ใช้ในการสร้างบ้าน และใช้ทำฟืน