ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นการะเกด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Blume
ชื่อภาษาอังกฤษ : Screw Pine, Pandanus Palm
ชื่ออื่นๆ : การะเกดด่าง, ลำเจียกหนู, เตยดง, เตยด่าง
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้น รูปทรงคล้ายต้นเตย ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาวและใหญ่
ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวล
ดอก : ออกเป็นช่อตั้ง เป็นแบบแยกเพศอยู่ต่างต้นออกตามปลายยอด กาบหุ้มดอกสีเหลืองนวล หุ้มเกสรอยู่ภายในอย่างมิดชิด กลิ่นหอมเย็น
ผล : เบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม รูปร่างคล้ายผลสับปะรด เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก กินได้ รสคล้ายผลสับปะรด
เมล็ด : เป็นรูปกระสอย
การขยายพันธุ์ของต้นการะเกด
เพาะเมล็ด แยกเหง้า
การดูแลต้นการะเกด
ปลูกได้ในดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำมาก ชอบแดดครึ่งวัน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นการะเกด
- ดอก ปรุงยาหอม แก้โรคในอก
- ยอด ต้มกับน้ำให้สตรีดื่มหลังคลอดบุตรใหม่ๆ
- ราก ใช้ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดัน ลดเบาหวาน
ประโยชน์ของต้นการะเกด
- เป็นไม้ประดับ
- ดอก รับประทานได้ และอบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
- ใบ นำมาจักสานเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ
- ผลสุก ใช้รับประทาน มีรสเปรี้ยวอมหวานคล้ายกับสับปะรด