ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นการบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum camphora (L.) J. Presl.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Camphor tree, Gum Camphor, Laurel Camphor, Formosan Camphor
ชื่ออื่นๆ : อบเชยญวน, พรมเส็ง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่มกว้าง ทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวหยาบ ลำต้นและกิ่งเรียบ ไม่มีขน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ราก และโคนต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี ผิวมันเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอมเทาหรือนวล เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร
ดอก : ออกเป็นช่อเป็นกระจุกบริเวณง่ามใบ สีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว
ผล : รูปไข่ หรือกลม สีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ของต้นการบูร
เพาะเมล็ด และปักชำ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นการบูร
เปลือกต้นและราก ใช้แก้ปวดข้อตามเส้นประสาท ข้อบวม หรือเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม กระตุก แก้ปวดท้อง ท้องเสีย ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ละลายเสมหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับลม ฆ่าเชื้อ แก้ธาตุพิการ
ประโยชน์ของต้นการบูร
นำส่วนต่างๆของต้นการบูร มาหั่นเป็นชื้นเล็กๆ นำไปต้มหรือกลั่นโดยใช้ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้มากพอ จะมองเห็นการบูร ตกผลึกเป็นก้อนที่มีสีขาวๆ แยกออกมาจากน้ำมันหอมระเหย แล้วนำผลึกมาทำเป็นก้อน