ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกัดลิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Walsura trichostemon Miq.
ชื่ออื่นๆ : ขี้อ้าย, มะค่าลิ้น, แก้วลาว, ลำไยป่า
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เรือนยอดแผ่นกว้างถึงค่อนข้างกลม กิ่งอ่อนมีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน และมีช่องอากาศเห็นชัดเจน เปลือกต้นสีน้ำตาลปนสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบางๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ปลายเรียวแหลม โคนสอบ และปลายก้านป่องเป็นข้อ
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล
ผล : เป็นผลเดี่ยว รูปทรงกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอ่อนแกมน้ำตาล มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน
เมล็ด : กลม มีเยื่อนุ่มหุ้มเมล็ดสีขาว
การขยายพันธุ์ของต้นกัดลิ้น
เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
การดูแลต้นกัดลิ้น
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกัดลิ้น
- ผลสุก เป็นยารักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ รักษาแผลเปื่อย
- ราก ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงเส้นเอ็น
- เปลือก ช่วยห้ามเลือด สมานบาดแผล แก้หิด
ประโยชน์ของต้นกัดลิ้น
- ผลสุก สีรสหวาน รับประทานได้
- เนื้อไม้ ใช้สำหรับก่อสร้าง หรือใช้ทำฟืน