ค้นหาสินค้า

กระบาก

จำหน่ายต้นกระบาก กล้าและกิ่งพันธุ์กระบาก สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

กระบาก

กะบาก
กะบาก วังทอง พิษณุโลก

ราคา 10.00 บาท /ต้น

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก ท่าม่วง กาญจนบุรี

ราคา 7.00 บาท /ต้น

กระบาก
กระบาก นากลาง หนองบัวลำภู

ราคา 35.00 บาท

กระบาก กล้ากระบาก
กระบาก กล้ากระบาก เมืองตรัง ตรัง

ราคา 15.00 บาท /ต้น

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก หนองเสือ ปทุมธานี

ราคา 50.00 บาท /ต้น

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก แก่งคอย สระบุรี

ราคา 30.00 บาท /ต้น

กระบาก
กระบาก แก่งคอย สระบุรี

ราคา 30.00 บาท /ต้น

กะบาก No. 083
กะบาก No. 083 ปทุมธานี

จังหวัดที่ขายกระบาก

กาญจนบุรี (1 ร้าน)

ตรัง (1 ร้าน)

ปทุมธานี (2 ร้าน)

พิษณุโลก (1 ร้าน)

สระบุรี (2 ร้าน)

หนองบัวลำภู (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด กระบาก ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระบาก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Mesawa

ชื่ออื่นๆ : ตะบาก, กระบากขาว, บาก,พนอง,

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนต่ำๆ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนา

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง แผ่นใบหนา

ดอก : ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม

ผล : รูปกลม ผิวเรียบ แห้ง มีปีก

เมล็ด : มี 1 เมล็ดต่อผล

กระบาก

การขยายพันธุ์ของต้นกระบาก

เพาะเมล็ด

การดูแลต้นกระบาก

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด เจริญเติบโตปานกลาง

ประโยชน์ของต้นกระบาก

- ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงาอย่างดี ใช้ยาแนวเรือ

- เนื้อไม้ ใช้ทำไม้แบบ ลังใส่ของ เสา ฝา พื้น


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระบาก (3858)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Anisoptera  costata
ชื่อวงศ์:    Dipterocarpaceae
ชื่อสามัญ:    mersawa
ชื่อพื้นเมือง:    ตะบาก, กระบากขาว, กระบากโคก, กระบากช่อ, กระบากด้าง, กระบากดำ, กระบากแดง, ชอวาตาผ่อ, บาก, ประดิก, พนอง, หมีดังว่า
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบปกติ สูง 20-30 เมตร แต่อาจพบสูงถึง 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลเทา แตกร่อนและเป็นสะเก็ด เปลือกในเรียงซ้อนกันเป็นชั้นสลับกันระหว่างสีน้ำตาลแดง และสีเหลือง โคนต้นมักเป็นพูพอน
    ใบ    เป็นชนิดใบเดี่ยวติดเรียงสลับ ทรงใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน และรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาง 6-16 ซม. หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเหลือง เส้นแขนงใบมี 12-16 คู่ ขอบใบเรียบ
    ดอก    ขนาดเล็ก  ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบตอนปลายๆ กิ่ง  กลีบดอกมี  5  กลีบ สีขาวปนเหลืองอ่อน
    ฝัก/ผล    กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก
ฤดูกาลออกดอก:    ธันวาคม-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์:    ใช้เมล็ดเพาะ
การดูแลรักษา:   ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์และการระบายน้ำดี   ชอบสภาพอากาศค่อนข้างชื้น-ชื้น ชอบแสง ในระยะแรกของการปลูกต้องการแสง 60-70%   
การใช้ประโยชน์:    - ใช้ประโยชน์ในการทำแบบหล่อคอนกรีต พื้น รอด ตง เรือมาด แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียนและรถ สันแปรง หีบใส่ของและหีบศพ
                             - ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงา ยาแนวไม้และเรือ
                             - ปลูกเป็นแนวกันลม ควบคุมความชื้น รักษาระบบนิเวศของป่าดินและน้ำ
                             - ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
แหล่งที่พบ:    เป็นพรรณไม้หลักของป่าดิบแล้ง  และป่าเบญจพรรณทั่วประเทศที่สูงจากระดับน้ำทะเล  10 - 400  เมตร