ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเอื้องหมายนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costus speciosus (Koen.) Sm.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Crape ginger, Malay ginger, Spiral flag, Wild ginger
ชื่ออื่นๆ : เอื้องช้าง, เอื้องต้น, เอื้องเพ็ดม้า, เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์
ลำต้น : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นใต้ดินเป็นหัว ลำต้นเทียมสีแดง อวบน้ำ มีขนขึ้นทุกส่วนของต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบกึ่งรูปขอบขนานกึ่งใบรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน กาบใบโอบรอบลำต้นสีเขียว หรือสีน้ำตาลแดง ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนนุ่ม เนื้อใบหนา สีเขียว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อรูปไข่ที่ปลายยอด ดอกเป็นรูปปากแตร ดอกสีขาวแกมสีชมพูหรือเหลือง
ผล : เป็นรูปทรงกลมและรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม แห้งแล้วแตก สุกสีแดง
เมล็ด : เป็นรูปเหลี่ยม สีดำเป็นมัน
การขยายพันธุ์ของต้นเอื้องหมายนา
แตกหน่อ และเพาะเมล็ด
การดูแลต้นเอื้องหมายนา
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ชอบแดดรำไร เจริญเติบโตปานกลาง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเอื้องหมายนา
- ลำต้นใต้ดินหรือเหง้า ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ตกขาว แก้โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แก้แผลหนอง อักเสบ ฆ่าพยาธิ เป็นยาถ่าย บำรุงมดลูก แก้ท้องมาน เป็นยาสมานแผลภายใน เป็นยารักษาซิฟิลิส
- ราก ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาแก้ไข้หวัด ช่วยในการย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง รักษาพิษงูกัด
- ลำต้น แก้หูน้ำหนวก รักษาโรคบิด บำบัดอาการปวดมวนในท้อง สามานมดลูก
- ใบ รักษาโรคหูเป็นหนอง รักษาริดสีดวงจมูก รักษาโรคนิ่ว
ประโยชน์ของต้นเอื้องหมายนา
- ดอกนิยมประดับแจกัน
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ
- ลำต้น นำมาต้ม หรือลวกเป็นผัก
- เหง้าสด ใช้ประกอบอาหาร
- หน่ออ่อน ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือ นำไปปรุงอาหาร
- ใช้กำจัดหอยเชอรี่