ค้นหาสินค้า

เอื้องทอง

ต้นเอื้องทอง

เอื้องใบไผ่
เอื้องใบไผ่ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 150.00 บาท /ต้น

กนกลายไทย
กนกลายไทย กรุงเทพมหานคร

ราคา 15.00 บาท /ต้น

เอื้องใบไผ่
เอื้องใบไผ่ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 150.00 บาท /ต้น

เอื้องใบไผ่
เอื้องใบไผ่ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 150.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นเอื้องทอง

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (3 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นเอื้องทอง ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเอื้องทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sanchezia speciosa Leonard

ชื่ออื่นๆ : กนกลายไทย, ม้าลาย

ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม กิ่งรูปทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเหลืองอมเขียว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบสีเขียวมีลายสีเหลืองตามแนวเส้นใบ เส้นกลางใบและก้านใบที่ยอดมีสีแดงเรื่อ

ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีแดงเรื่อ ดอกสีเหลือง ออกดอกตลอดปี

เอื้องทอง

การขยายพันธุ์ของต้นเอื้องทอง

ปักชำกิ่ง

การดูแลต้นเอื้องทอง

ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน เจริญเติบโตช้า

ประโยชน์ของต้นเอื้องทอง

นิยมปลูกเป็นแปลง หรือปลูกริมรั้ว ปลูกเป็นไม้กระถาง


ลักษณะของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10 และพันธุ์อู่ทอง 84-11 (3929)

อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10  
   
มีลักษณะเด่น คือ หากปลูกในเขตชลประทานจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.77 ตัน/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 41 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 71 ทั้งยังให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.85 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 39 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 70  ขณะที่ให้ความหวานอยู่ที่ 14.42 ซีซีเอส   ถ้าปลูกในเขตที่มีน้ำเสริมจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 15.28 ตันต่อไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200  ร้อยละ 11 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 19  และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.12 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 17 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 15 ส่วนความหวานอยู่ที่ 13.83 ซีซีเอส    นอกจากนั้นยังต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง  ทั้งนี้ ไม่ควรปลูกอ้อยอู่ทอง 84-10 ในเขตที่มีการระบาดของหนอนกออ้อย    


   
สำหรับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-11
   
ว่าเดิมชื่ออ้อยโคลน 02-2-226 ได้จากการผสมข้ามระหว่างอ้อยพันธุ์แม่ 93-2-085 กับพันธุ์พ่อ 92-2-065 ซึ่งอ้อยพันธุ์ใหม่นี้มีลักษณะเด่น   คือ ถ้าปลูกในพื้นที่เขตชลประทานจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.24 ตัน/ไร่   สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 30    
สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 58   ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.67 ตันซีซีเอส/ไร่  สูงกว่าพันธุ์  K 84-200 ร้อยละ 30  สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 59 และให้ความหวาน 14.66 ซีซีเอส     ถ้าในเขตที่มีน้ำเสริมให้ผลผลิตเฉลี่ย 13.25 ตัน/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 15   สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 31 ขณะที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.75 ตันซีซีเอส/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 18  สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 24 ส่วนความหวาน อยู่ที่ 13.21 ซีซีเอส   นอกจากนั้นยังสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดง  และโรคแส้ดำได้ปานกลางด้วย    


   
ข้อมูลจาก : จดหมายข่าว ผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร
   
ที่มา : กรมวิชการเกษตร